Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคเหนือ’ Category

ความจริงของพระเจ้าเก้าตื้อที่ไม่ได้ปรากฏในที่สาธารณะ วัดสวนดอก

ท่านเล่าว่าพระเจ้าเก้าตื้อที่เห็นนี้ได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่แทนของเก่า โดยมีคณะศรัทธาญาติโยมซึ่งมีหัวเรือใหญ่เป็นอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์ ร่วมกับผู้มีฐานะร่ำรวยมั่งคั่ง ได้ไปปรึกษาหารือกับท่านเจ้าอาวาส เพื่อจะทำการลอกทองคำที่หุ้มพระเจ้าเก้าตื้อออก และปิดใหม่ให้ดูสวยงามขึ้นซึ่งในขณะนั้นเห็นว่าทองเก่าได้หลุดลอกออกบางส่วน และการปิดทองใหม่ก็ได้ให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ โดยใช้ทองชนิดพิเศษเรียกว่าทองวิทยาศาสตร์ ์ซึ่งจะทำให้องค์พระมีสีทองสุกใสแวววาว

การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ ชาวบ้านที่ศรัทธาวัด ต่างไม่เห็นด้วยที่ต้องลอกทองเก่าซึ่งเป็นทองบริสุทธิ์ออก และปิดทองใหม่ ซึ่งเป็นทองผสม ไม่ได้เป็นทองคำบริสุทธิ์เหมือนแต่แรก แต่ชาวบ้านใกล้เคียง คนเฒ่าคนแก่ และพระในวัดที่เป็นคนท้องถิ่นไม่สามารถทัดทานความตั้งใจนั้นได้ จึงต้องปล่อยให้บูรณะจนแล้วเสร็จ ท่ามกลางความเสียดายของชาวบ้าน ซึ่งการบูรณะ ครั้งนี้กระทำเมื่อปลายปี 2539 และมาเสร็จเมื่อต้นปี 2540

แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุกับอาจารย์มหาวิทยาลัยผู้นี้หลายเรื่อง เช่นมีญาติเสียชีวิตอย่างกระทันหัน และเจ้าตัวประสบเคราะห์กรรมต่างๆนานา นต้องลาออกจากหน่วยงานและได้มาบวชชีที่วัดนี้เพื่อเป็นการขอขมา (ปัจจุบันได้สึกแล้ว)

Read more »

ประวัติวัดสวนดอก

วัดสวนดอกสร้างในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ รัชการที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๑๔ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระราชอุทยานสวนดอกไม้ของพระองค์ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของนครเชียงใหม่ ห่างประมาณ ๑ กิโลเมตร สร้างเป็นพระอารามขึ้น และพระราชทานนามว่า “วัดบุปผาราม” ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดสวนดอก” วัดนี้เป็นวันเก่าแก่ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในสมัยอาณาจักรล้านนา วัดสวนดอกเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาลักธิลังกาวงศ์ เป็นที่สถิตของพระสังฆราชในอาณาจักรล้านนา เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากกรุงสุโขทัย และนำมาบรรจุไว้ในพระบรมธาตุเจีย์ทีวัดสวนดอกแห่งนี้ ปัจจุบันวัดสวนดอกนับว่ามีความสำคัญต่อการส่งเสริมการศึกษาของคณะสงฆ์เป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าเป็นที่ตั้งของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตเชียงใหม่ เป็นสถานที่ให้ความรู้และอบรมทางวิชาการเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่สวยงาม วัดนี้จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่

Read more »

วัดสวนดอก เวียงพระธาตุแห่งล้านนา

wat-suandok1

วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ หรือ วัดบุปผาราม เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ โดยเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาแต่โบราณ สร้างในสมัย พญากือนา เมื่อปี พ.ศ.1914 โดยได้ทรงถวายอุทยานสวนดอกไม้ส่วนพระองค์ เพื่อสร้างเป็นวัด ถวายแด่ พระสุมนเถระ พระเถระจากเมืองศรีสัชนาลัย ที่พระองค์ได้นิมนต์มาเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่ โดยได้พระราชทานนามวัดว่า วัดบุปผาราม
ต่อมาหลังยุคใต้การปกครองของพม่า วัดสวนดอกได้ทรุดโทรมลง จึงมีการบูรณะวัดขึ้นในสมัย พระเจ้ากาวิละ และในสมัยเจ้าแก้วเนารัตน์โดยร่วมกับครูบาศรีวิชัย ทำการบูรณะศาสนสถาน และสร้างพระวิหารโถงหลังใหญ่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2472

Read more »

วัดสวนดอก เชียงใหม่

692

วัดสวนดอก หรือ วัดบุพผาราม ตั้งอยู่ถนนสุเทพ อำเภอเมือง วัดนี้พระเจ้ากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1914 (ศักราชนี้ถือตาม หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ของพระรัตนปัญญาเกตุ) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐาน พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินลานนาไทย วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยาน ของกษัตริย์ลานนาไทย สมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่และวิหารโถง นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

วัดสวนดอก (พระอารามหลวง)

วัดสวนดอก (คำเมือง: LN-Wat Suan Dok.png) หรือ วัดบุปผาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ[1]สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันตั้งอยู่บนถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ที่ตั้งและอาณาเขต
วัดสวนดอกตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เลขที่ 139 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากประตูสวนดอกไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร กินเนื้อที่ 35 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา ทิศเหนือยาว 183 เมตร ทิศใต้ยาว 193 เมตร ทิศตะวันออกยาว 176 เมตร และทิศตะวันตกยาว 176 เมตร
ประวัติ
วัดสวนดอกในอดีตนั้นป็นสวนดอกไม้ (ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชวงศ์เม็งราย โดยในปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น “พระอารามหลวง” เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ “พระมหาเถระสุมน” ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” 1 ใน 2 องค์ ที่ “พระมหาเถระสุมน” อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)

Read more »

วัดท่าใหม่อิ

สถานที่ตั้งของวัด

วัดท่าใหม่อิ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๒ บ้านท่าใหม่อิ หมู่ที่ ๕ ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๙๖ ตารางวา

ประวัติความเป็นมาของวัด

วัดท่าใหม่อิ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระมหาไพศาล ฐานวุฑฺโฒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าใหม่อิ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน

วัดท่าใหม่อิมีพระวิหารทรงล้านนาที่เก่าแก่ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลังเดียวในตำบลป่าแดด ซึ่งสวยงามและมีคุณค่าทำให้ผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก ในด้านการจัดสถานที่วัดนั้น ท่านพระมหาไพศาล ฐานวุฑฺโฒ เมื่อได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ท่านได้มีวิสัยทัศน์ที่จะจัดวัดให้เป็นสถานที่ร่มรื่น สะอาดตาสวยงามจน ณ ปัจจุบันเป็นที่กล่าวขานกันว่า วัดท่าใหม่อิแห่งนี้เป็นพืชสวนโลกแห่งที่สองของจังหวัดเชียงใหม่

Read more »

วัดท่าใหม่อิ จังหวัดเชียงใหม่

44

 

22 Read more »

วัดท่าใหม่อิ

1

1. มาแล้วมีความสุข สดชื่น

แต่กว่าวัดจะสวยงามได้ขนาดนี้ พระอาจารย์ต้องฝ่าฟัน โดยไม่ย่อท้อ และยังบอกว่า “ทุกอย่างไม่มีอะไรสบายก่อน จะต้องมีลำบากก่อน” บางคนถึงพูดว่า ต้องทุกข์ก่อนแล้วค่อยทุกข์ทีหลัง การพัฒนานั้นไม่ใช่งานที่ง่าย เป็นงานที่ต้องทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจ หากเราเป็นผู้นำ ต้องเป็นผู้นำที่เสียสละ ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างก่อน ที่จริงแล้วเราทุกคนอยู่ในวัดต้องช่วยกันทำ เจ้าอาวาสก็ต้องทำ ถ้าไม่อย่างนั้น จะไม่เกิดการเป็นผู้นำ

2

2. มาแล้วต้องยิ้ม ต้องได้ยินเสียงหัวเราะ ต้องมีความสุขกับชีวิตกลับไป

รูปปั้น เณรยิ้ม เพราะคนเราทุกคนเวลาเข้ามาวัดเมื่อเห็นเณรยิ้มนี้ ก็จะยิ้มตามกับความน่ารักของเณรน้อย ทุกคนก็จะหัวเราะออกมา ลืมความทุกข์ นี่เป็นปริศนาธรรม สอนเราว่า คนเรามีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ ต้องมีความสุข ต้องหัวเราะ ใครที่หัวเราะเยอะ ๆ คนนั้นจะอายุยืน หน้าตาเบิกบาน แจ่มใส และเมื่อยิ้มแล้วต้องสู้

“ทุกข์หนักอย่างไรก็ต้องยิ้มและสู้เข้าไว้”

Read more »

“วัดท่าใหม่อิ” เมื่อวัดกับสวนสวยเป็นเรื่องเดียวกัน

jdEfyZP

ถ้าพูดถึงวัด หลายคนคงนึกถึงปูชนียสถานต่างๆ ศาลาการเปรียญ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ฯลฯ ที่ตกแต่งสวยงามตามแบบฉบับของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อมองแล้วรู้สึกว่า “วัดนี้สวยดีเนอะ” แต่ใครจะไปคิดว่ามีอยู่วัดหนึ่ง (เท่าที่เคยไปเยี่ยมเยือนมานะคะ) ที่เมื่อแรกพบต้องอุทานว่า “เฮ้ย… นี่วัดจริงๆ เหรอ” เลยอดไม่ได้ที่จะเก็บภาพพร้อมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาฝากเพื่อนๆ “วัดท่าใหม่อิ” ตามไปดูกันเลยเถอะว่าวัดนี้มีดีอะไรบ้าง

วัดท่าใหม่อิ ตั้งอยู่บนถนนวงแหวนรอบนอก เชิงสะพานข้ามแม่น้ำปิง บ้านท่าใหม่อิ ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีอายุมากกว่า 500 ปี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยกทัพขึ้นมารบกับพม่า สันนิษฐานว่าชื่อวัดมีที่มาจากพระนาม “พระนางมณีจันทร์” พระชายาของพระนเรศวร ซึ่งเคยใช้พระนามแฝงว่า “แม่อิ” (เป็นคำขึ้นต้นของบทสวดอิติปิโส) เพื่อความปลอดภัย ชื่อนี้ได้กลายมาเป็นชื่อของวัด “วัดท่าอิ” ต่อมาเพี้ยนเป็น “วัดท่าใหม่อิ” จนถึงปัจจุบัน

พระวิหาร สถาปัตยกรรมล้านนา อาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ หน้าบันประดับด้วยงานแกะสลักไม้พรรณพฤกษาสีทองอร่าม ราวบันไดเป็นมกรคายนาคปากนกแก้วสีขาวสะอาดตา ภายในประดิษฐานหลวงพ่อมงคลพรหมวิหารบันดาลโชค พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระประธาน เสาแต่ละต้นและโครงสร้างของอาคารงดงามด้วยลายคำ ฝาผนังเขียนภาพจิตกรรมเล่าเรื่องพระเวสสันดรชาดก มีความพิเศษตรงที่ใช้ทองคำเปลวประดับในบางจุดอีกด้วย

Read more »

ไปไหว้พระวัดท่าใหม่อิ

วัดท่าใหม่อิ 01

ไปไหว้พระทำบุญกับแม่ น้องสาวและน้องเขยมาครับ จริงๆไปมานานละแต่เพิ่งมีโอกาสได้เอามาลงบล็อก

สาเหตุที่แม่อยากไปไหว้พระที่วัดนี้ก็เพราะว่า มีญาติท่านนึงเคยไปมาก่อนแล้วมาเล่าให้แม่ฟังถึงความสวยงามร่มรื่น โดยเฉพาะไฮไลท์ที่กล่าวถึงความสวยงามของ “ห้องน้ำ้ลอยฟ้า” ของทางวัด

วัดท่าใหม่อิเป็นวัดเล็กๆ เนื้อที่วัดไม่ใหญ่โตมาก แต่ก็ใช้พื้นที่แต่ละตารางเมตรอย่างคุ้มค่า มีการตกแต่งวัดอย่างร่มรื่นยังกะรีสอร์ท นอกจากได้มาไหว้พระประธานในอุโบสถแล้ว ทั่วบริเวณวัดยังมีสิ่งศักดิื์ให้เคารพสักการะตามจุดต่างๆมากมาย ทั้งต้นโชค พระเจ้าทันใจ พระพิฆเนตร พระราหู พระประจำวันเกิด ฯลฯ
หน้าวัดมีวังมัจฉา มีตู้ปลาสวยงามตั้งโชว์ไว้หลายตู้ด้วยกัน Read more »

วัดท่าใหม่อิ จังหวัดเชียงใหม่

52-11-06-thamaii-88

วัดท่าใหม่อิ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๒ บ้านท่าใหม่อิ หมู่ที่ ๕ ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๙๖ ตารางวา
วัดท่าใหม่อิ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม ดังต่อไปนี้
รูปที่ ๑-๕ ไม่ทราบนามเจ้าอาวาส
รูปที่ ๖ พระหมู
รูปที่ ๗ พระปัญญา วิลงฺโส
รูปที่ ๘ พระบุญมา จิตฺตคุตฺโต
รูปที่ ๙ พระอธิการประพันธ์ ขนฺติโก
รูปที่ ๑๐ พระครูพิพิธธรรมทัต
รูปที่ ๑๑ พระมหาไพศาล ฐานวุฑฺโฒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าใหม่อิ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน

Read more »

พระธาตุหริภุญชัย

พระธาตุหริภุญชัยเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดลำพูน และของประเทศไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงวินิจฉัยถึงจอมเจดีย์
ในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยว่ามีอยู่แปดองค์และได้จำลองเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร คือ
พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
พระศรีรัตนมหาธาตุเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย
พระมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
พระเจดีย์ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระธาตุเมืองละโว้ จังหวัดลพบุรี
สถานที่ตั้งพระธาตุหริภุญชัย ประดิษฐานอยู่ในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกตั้งอยู่ในกลางเมืองลำพูน
บนเนื้อที่ ๒๕ ไร่ ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่งที่สำคัญยิ่ง คือพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา
ของล้านนาร่วมสิบศตวรรษ Read more »

พระธาตุหริภุญชัย แห่งเมืองที่…’พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ’

6jefhbdi78bkbd9c5jj96

ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัยมาจากชื่อของเมืองหริภุญชัย ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จมาบิณฑบาตในสมัยพระพุทธกาลและได้แวะรับและฉันลูกสมอ ที่ชาวลัวะนำมาถวาย โดยได้ทรงพยากรณ์ไว้ตอนนั้นว่าสถานที่แห่งจะมีผู้มาสร้างเมืองและตั้งชื่อว่า “หริภุญชัยนคร”

“คนไปลำพูนหากไม่ได้ไปกราบไหว้พระธาตุหริภุญชัยแล้วก็เหมือนกับว่ายังไม่เคยไปลำพูนเลย” เป็นคำกล่าวขานในหมู่ชาวพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวล้านนาไทย เพราะว่าวัดนี้เป็นวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของ จ.ลำพูน

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ตรงกับรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยสถานที่แห่งนี้เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าว มวลสารผงจากองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา

พระบรมธาตุหริภุญชัย ตั้งอยู่หลังวิหารหลวง ประดิษฐานพระเกศธาตุบรรจุในโกศทองคำเจดีย์ ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับพระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ มีสัตถบัญชร (ระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วเหล็กและทองเหลือง) ๒ ชั้น สำเภาทองประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือและทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม หอคอยประจำทุกด้านรวม ๔ หอ บรรจุพระพุทธรูปนั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป พระบรมธาตุนี้นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งในล้านนามาตั้งแต่สมัยโบราณ ในวันเพ็ญเดือน ๖ จะมีงานนมัสการ และสรงน้ำพระบรมธาตุทุกปี

ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.๑๔๔๐ พระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์วงศ์รามัญผู้ครองนครลำพูนได้สร้างมณฑปครอบโกศทองคำ บรรจุพระบรมธาตุไว้ภายในและมีการสร้างเสริมกันต่อมาอีกหลายสมัย ต่อมาใน พ.ศ.๑๙๘๖ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ปฏิสังขรณ์บูรณะเสริมองค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่เป็นแบบลังกา ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้ เพราะในสมัยพระเจ้าติโลกราชได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับลังกา Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (จังหวัดลำพูน)

องค์พระธาตุหริภุญชัย ตั้งอยู่ ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๑๔๔๐ ในรัชสมัยของ
พระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์ผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๓๓ นับจากพระนางจามเทวี
องค์ปฐมกษัตริย์ ปัจจุบันพระธาตุหริภุญชัยมีอายุล่วงเลยถึง ๑๑๐๕ ปีนับเป็น
จอมเจดีย์หนึ่งในแปดองค์ของประเทศไทยที่มีอายุมากกว่า ๑,๐๐๐ ปี

Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

cover-sadoodta_1052

ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฎฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีระกา

ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยมีสิ่งที่น่าสนใจคือ

ซุ้มประตู ก่อนเข้าไปในบริเวณวัด จะผ่านซุ้มประตูฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ หน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆาราม

วิหารหลวง เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้ว จะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า “วิหารหลวง” เป็นวิหารหลังใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน มีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2458วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาใหญ่ 3 องค์ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองบนแท่นแก้ว และมีพระพุทธปฏิมาโลหะขนาดกลาง สมัยเชียงแสนชั้นต้นและ ชั้นกลางอีกหลายองค์ Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .