Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

Phra-Samut-Chedi

พระสมุทรเจดีย์ ตั้งอยู่ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด ในวัดพระสมุทรเจดีย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงกันข้ามกับศาลากลางจังหวัด เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) แต่เดิมพระเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขิน งอกออกมาเชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์ ปัจจุบันจึงไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์นี้ขึ้นแต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อเป็นพระเจดีย์สูง 20 เมตร ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปทรงพระเจดีย์แล้วก่อให้สูงขึ้นอีกเป็น 38 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระชัยวัฒน์ และพระปางห้ามสมุทรไว้

การเดินทาง

จาก สามแยกพระประแดง ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ (ทางหลางหมายเลข 303) มุ่งไปทางอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถึงสามแยกพระสมุทรเจดีย์ให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระสมุทรเจดีย์ สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและแบบธรรดา สาย 20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำท่าดินแดง) ลงที่สามแยกพระสมุทรเจดีย์แล้วต่อรถรับจ้างไปที่วัดได้

ขอขอบคุณ http://www.hoteldirect.in.th/

พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ

boby-พระสมุทรเจดีย์

ตั้งอยู่ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด ในวัดพระสมุทรเจดีย์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงกันข้ามกับศาลากลางจังหวัด แต่เดิมพระเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขินงอกออกมาเชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์
ปัจจุบันจึงไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์นี้ขึ้นแต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อเป็นพระเจดีย์สูง 20 เมตร ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปทรงพระเจดีย์แล้วก่อให้สูงขึ้นอีกเป็น 38 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระชัยวัฒน์ และพระปางห้ามสมุทร
สอบถามรายละเอียดโทร. 0 2425 8898

ขอขอบคุณ http://suvarnabhumiairport.com/

งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ วันที่ 13 – 24 ตุลาคม 2557

images

งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นงานสำคัญระดับจังหวัดที่จักสืบเนื่องมานับตั้งแต่สร้างองค์พระเจดีย์ งานนมัสการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 บริเวณลานจอดรถรอบองค์พระและหน้าศาลากลางฝั่งจังหวัด ช่วงเช้ามีการแห่ผ้าห่มองค์พระเจดีย์ไปรอบเมือง ก่อนนำงเรือแห่ไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นจึงทำพิธีเปลี่ยนผ้าผืนเก่าแล้วอัญเชิญผ้าสีแดงใหม่ขึ้นห่ม โดยคยในตระกูลรุ่งแจ้ง ซึ่งปฏิบัติมาสี่ชั่วอายุคนแล้ว ชาวปากน้ำเชื่อกันว่าต้องเป็นคนในตระกูลนี้เท่านั้นจึงจะขึ้นไปห่มผ้าองค์พระสมุทรเจดีย์ได้

ภายในงานมีการออกร้มานของหน่วยงานราชการและเอกชน มีมหรสพเฉลิมฉลอง ภาพยนต์ ดนตรี จับสลากการกุศล การออกร้านของกินของใช้ และเครื่องเล่นต่างๆ ถือได้ว่าเป็นงานวัดเก่าแก่เต็มรูปแบบใกล้กรุงเทพฯ ที่ยังหลงเหลืออยู่ ตลอดงานจะมีการประดับดวงไปรอบองค์พระสมุทรเจดีย์อย่างงดงาม

ขอขอบคุณ http://samutprakan.mots.go.th/

งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์

พระสมุทรเจดีย์ หรือ “พระเจดีย์กลางน้ำ ” ถือเป็นปูชนียสถาน คู่บ้าน คู่เมือง และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลาง และถือว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ

พระสมุทรเจดีย์ เริ่มก่อสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 ) ภายหลังจากที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเมืองสมุทรปราการและป้อมปราการต่าง ๆ โดยพื้นที่เดิมเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ เรือสินค้าสามารถแล่นอ้อมรอบๆเกาะได้ จึงได้ชื่อว่า “พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ ” ปัจจุบันกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางและแผ่นดินได้ยื่นงอกออกมาจากการทับถมของตะกอน จนทำให้พื้นที่เกาะหมดไป คงเหลือเพียง “พระสมุทรเจดีย์” เท่านั้น

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ครั้งยังเป็นพระยาพระคลัง เป็นแม่กองจัดการ ถมเกาะหาดทรายให้แน่นหนามั่นคง เสร็จแล้วโปรดเกล้าฯให้ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ กับ พระยาราชสงคราม คิดแบบเจดีย์จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย แล้วจึงโปรดเกล้าฯให้ พระเจ้า ลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับเจ้าพระยาพระคลัง เป็นผู้อำนวยการสร้าง แต่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้พระยาศรีธรรมราชและพระยาพระคลัง เป็นแม่กอง จัดสร้างพระเจดีย์ขึ้นกลางเกาะตามพระราชประสงค์ของพระราชบิดา แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2371 พระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์ ”

Read more »

งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ ประจำปี

samut-prakan-000041

การจัดงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี กำหนดให้วันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นวันเริ่มงานโดยมีกำหนดการจัดงานตั้งแต่เวลา 09.00 น. จะมีพิธีเปิดงานบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ เวลา14.00 น. จะมีพิธีห่มผ้าองค์พระสมุทรเจดีย์ และโดยจังหวัดสมุทรปราการได้เรียนเชิญ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธานในพิธี และวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2556
เวลา 18.00 น. จะมีพิธีเวียนเทียนรอบองค์พระสมุทรเจดีย์

นอกจากนี้ภายในงาน จะมีการออกร้านกาชาดของเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจกรรมสาธารณะกุศล การจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ราคาถูก สินค้า OTOP การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงมหรสพ ให้ประชาชนชมฟรีทุกคืน พระสมุทรเจดีย์ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2371 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยก่อนผู้คนส่วนใหญ่จะเรียกกันติดปากว่า พระเจดีย์กลางน้ำ เนื่องจากแต่เดิมบริเวณที่ก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์ เป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ พระสมุทรเจดีย์องค์เดิมสร้างเป็นแบบย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง

Read more »

วัดพระสมุทรเจดีย์

จังหวัด: สมุทรปราการ
ชื่ออื่น: พระสมุทรเจดีย์, วัดเจดีย์กลางน้ำ, พระเจดีย์กลางน้ำ
ที่ตั้ง: 114 บ้านเจดีย์ ถ.สุขสวัสดิ์ ม.3 ต.ปากคลองบางปลากด อ.เมืองสมุทรปราการ
พิกัด: 13.600301 N, 100.586829 E
เขตลุ่มน้ำหลัก: เจ้าพระยา
เขตลุ่มน้ำรอง: –
เส้นทางเข้าสู่แหล่ง: จากอำเภอพระประแดงเข้าทางหลวงสาย 303 (ถนนสุขสวัสดิ์) ไปบรรจบกับทางหลวง 3105 ไปตามทางจนสุดทาง วัดตั้งอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว:
เป็นแหล่งท่องเที่ยว
รายละเอียดทางการท่องเที่ยว:
สามารถเข้านมัสการและเยี่ยมชมได้ทุกวัน เวลา 7.00-16.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นงานประจำปีของจังหวัดสมุทรปราการ วันแรม 5 ค่ำ เดือน 11
หน่วยงานที่ดูแลรักษา: วัดพระสมุทรเจดีย์

Read more »

ประเพณีแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ (งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์) จังหวัดสมุทรปราการ

samutjedee4

ช่วงเวลา ตั้งแต่ วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นระยะเวลา ๗ วัน ๗ คืน แต่มาระยะหลังได้ผนวกงานกาชาดไปด้วยเป็น ๑๐ วัน ๑๐ คืน

ความสำคัญ

พระสมุทรเจดีย์ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของชาวสมุทรปราการ อีกทั้งยังเป็นโบราณสถานที่สำคัญของประเทศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงดำริให้สร้างขึ้นและพระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” แต่สร้างเสร็จเรียบร้อยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราษฎรจะเรียกกันว่า “พระเจดีย์กลางน้ำ” เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๑๒ องค์ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากพระบรมมหาราชวัง พระปิฏกธรรม พระปางห้ามสมุทรและพระชัยวัฒน์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นได้จัดงานสมโภชเป็นที่ยิ่งใหญ่ และเป็นประเพณีสืบมาจนปัจจุบันนี้

พิธีกรรม

วันแรม ๒ ค่ำเดือน ๑๑ จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชายหญิงพร้อมใจกันไปช่วยเย็บผ้าแดงผืนใหญ่สำหรับห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ ใช้เวลาอย่างช้า ๒ วันเสร็จ ในวันแรม ๕ ค่ำเดือน ๑๑ คณะกรรมการจะเชิญขึ้นตั้งบนบุษบกโดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะแห่ไปรอบเมือง มีขบวนแห่ของสถานศึกษาหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมขบวนและอัญเชิญผ้าแดงลงสู่เรือแห่แหนไปตามลำน้ำเจ้าพระยาไปถึงอำเภอพระประแดงแล้วอัญเชิญขึ้นรถแห่รอบตัวเมืองพระประแดงเพื่อให้ชาวพระประแดงได้ร่วมอนุโมทนาแล้วอัญเชิญลงเรือกลับมายังพระสมุทรเจดีย์มาทำพิธีทักษิณาวัตรรอบองค์พระสมุทรเจดีย์แล้วจึงนำผ้าแดงขึ้นห่ม แต่เดิมเรือสามารถแล่นได้รอบองค์พระสมุทรเจดีย์ ก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเรือของสาวหนุ่มเป็นที่ครึกครื้น เรือเดินไม่ได้จึงลดความครึกครื้นลงไปเมื่องานแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ผ่านพ้นไปแล้วจะเป็นการสมโภชมีมหรสพ การออกร้านตลอดระยะเวลา ๗ วัน ๗ คืน แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้ก่อนที่จะกลับบ้านก็คือ การปิดทองและการไปนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์นั่นเอง สำหรับในคืนวันแรม ๗ ค่ำนั้นจะมีงานตลอดรุ่ง ในเวลาเช้าของวันแรม ๘ ค่ำจะมีการแข่งเรือพายเป็นที่สนุกสนาน

ขอขอบคุณ http://www.stou.ac.th/

พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ

jadee5

พระสมุทรเจดีย์ หรือที่ชาวปากน้ำเรียกว่า พระเจดีย์กลางน้ำ เป็นปูชนียสถาน อันเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญและเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดสมุทรปราการ ทางราชการได้ถือเอาพระสมุทรเจดีย์เป็นตราจังหวัดสมุทรปราการ ธงของจังหวัดมีสีพื้นเป็นสีน้ำทะเล กลางผืนธงมีรูปพระสมุทรเจดีย์สีขาว ใต้รูปพระสมุทรเจดีย์มีคำว่า “สมุทรปราการ” คันธงมีแถบสีเหลือง ๒ แถบ

สถานที่ตั้ง
ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ

ประวัติความเป็นมา
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตระหนักหลังจากมีการสร้างเมืองสมุทรปราการเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๖๕ และได้มีการสร้างป้อมที่สำคัญขึ้น ๖ ป้อม ได้แก่ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมกายสิทธิ์ ป้อมนาคราช ป้อมผีเสื้อสมุทร (ปัจจุบันเหลืออยู่สมบูรณ์ป้อมเดียว) ผู้ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ในการเป็นแม่กองในการก่อสร้างป้อมทั้ง ๖ นี้คือ Read more »

ตามหาพระเจดีย์กลางน้ำ “องค์พระสมุทรเจดีย์”

Image

แรกเริ่มเดิมทีวันหยุดเสาร์อาทิตย์ที่จะถึงนี้ฉันว่าจะไปเที่ยวทะเลเสียหน่อย แต่พอได้ฟังพยากรณ์อากาศแล้วช่างไม่เป็นใจเอาเสียเลย เพราะคลื่นลมแรง ฝนก็ตก ไม่เหมาะกับการไปพักผ่อนริมชายหาดสักเท่าไร ว่าแล้วก็เลยเปลี่ยนแผนมาเที่ยวใกล้ๆ กรุงเทพฯ เหมือนเดิม แบบว่าไม่ต้องออกไปถึงทะเล ไปแค่ปากน้ำก็พอ

ปากน้ำที่ฉันว่านั้นก็คือเมืองปากน้ำ หรือ จ.สมุทรปราการ นี่เอง ที่ว่าเป็นปากน้ำก็เพราะเป็นเป็นทางออกของแม่น้ำเจ้าพระยาไปสู่ทะเลอ่าวไทยนั่นเอง

และถ้าบอกว่าจะมาเที่ยวที่เมืองปากน้ำ ฉันคิดว่าใครๆ ก็คงอยากเห็นพระเจดีย์กลางน้ำเป็นแน่ แต่ต้องบอกกันไว้ก่อนว่า หากไปขับรถเที่ยวหาเจดีย์ที่อยู่กลางน้ำตอนนี้แล้วไม่มีทางเจออย่างแน่นอน เพราะนี่เป็นชื่อเรียกที่ติดปากชาวบ้านกันมาแต่ดั้งเดิม ซึ่งเป็นที่มาและเรื่องราวการสร้าง “องค์พระสมุทรเจดีย์” นั่นเอง

เหตุที่เรียกว่าพระเจดีย์กลางน้ำนั้นก็เพราะว่า ในสมัยแรกที่มีการสร้างนั้น พื้นที่ตรงนี้มีลักษณะเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระราชดำริให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นบนเกาะนั้น เพื่อเป็นที่สักการบูชาของผู้คนที่เดินทางผ่านไปผ่านมาให้เป็นสิริมงคล และป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงได้

Read more »

พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

chedi2

ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในเขตตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตามประวัติกล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองจัดสร้างป้อมปราการจำนวน 6 ป้อม ใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งหมด ๓ ปีจึงแล้วเสร็จ เมื่อสร้างป้อมเสร็จแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับเจ้าพระยาพระคลัง เป็นผู้อำนวยการสร้างพระเจดีย์ขึ้นที่เกาะหาดทรายท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ เพื่อปกป้องประเทศชาติและพระศาสนา โดยโปรดฯ ให้กรมพระราชวังสถานมงคลมหาศักดิพลเสพ กับพระยาราชสงครามเขียนแบบแผนผังรูปพระเจดีย์ถวาย แล้วทรงเฉลิมพระนามว่า “ พระสมุทรเจดีย์ ”

แต่ยังมิได้ทันก่อสร้างก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีธรรมราชกับเจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองจัดสร้างต่อการก่อสร้างเริ่มเมื่อวันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 (ตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370) แล้วเสร็จเมื่อวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 (ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2371) ลักษณะขององค์พระสมุทรเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลนี้เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ต่อมาได้มีผู้ร้ายลักลอบขุดองค์ระฆังลักเอาพระบรมธาตุที่บรรจุอยู่ภายใน

Read more »

วัดพระสมุทรเจดีย์

พระสมุทรเจดีย์01

วัดพระสมุทรเจดีย์ หมู่ 3 บ้านเจดีย์ ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นวัดราษฎร์ ฝั่งตรงข้ามศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ มีผู้คนมาเคารพสักการบูชา และยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ผู้คนทั่วไปจะเรียกกันติดปากว่า พระเจดีย์กลางน้ำ เนื่องจากเดิม บริเวณที่ก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์เป็นเกาะที่มีน้ำล้อมรอบ ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขินงอกออกมา เชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์ สมุทรปราการ เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวเมืองเก่าอยู่แถบอำเภอพระประแดงและมีชื่อเรียกว่า “เมืองพระประแดง” เป็นสถานที่พักของเมืองสินค้าต่างชาติที่มาติดต่อค้าขายกับไทย ที่บริเวณริมทะเลมีการสร้างป้อมค่ายคูเมืองอย่างมั่นคงแข็งแรง ต่อมา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้รื้อกำแพงเมืองพระประแดงออก

ในปี พ.ศ. 2362 สมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงเห็นว่าจะเป็นช่องทางที่ข้าศึกจะยกทัพมาได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นที่ตำบลปากน้ำ โดยใช้เวลาสร้าง 3 ปี และได้จัดสร้างป้อมปราการขึ้นทั้งสองฝั่งแม่น้ำถึง 6 ป้อม คือ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมประกายสิทธิ์ ป้อมนาคราช และป้อมผีเสื้อสมุทร ในขณะที่สร้างเมืองนั้น รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จทอดพระเนตรหลายครั้งและทรงสร้างพระมหาเจดีย์ ขึ้นที่เกาะกลางน้ำแล้วพระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” การสร้างยังมิทันเสร็จได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมา ในรัชกาลที่ 3 ได้ทรงสร้างต่อจนสำเร็จและสร้างป้อมขึ้นอีก 3 แห่ง คือ ป้อมตรีเพชร ป้อมคงกระพัน และป้อมเสือซ่อนเล็บ

Read more »

งานประเพณีรับบัว วัดบางพลีใหญ่ (วัดหลวงพ่อโต) จ.สมุทรปราการ สมุทรปราการ

1142

สำหรับประเพณีรับบัว หรือโยนบัว เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวบางพลี ซึ่งอำเภอบางพลีมีประชากรอาศัยอยู่ 3 พวก คือ ไทย รามัญและลาว แต่ละพวกมีหัวหน้าควบคุมดูแลทำมาหากิน ในอาชีพต่าง ๆ ต่อมากลุ่มคนทั้ง 3 พวก ได้ปรึกษากันว่าสมควร จะขยายพื้นที่ทำกินใหม่ให้มากขึ้น เพราะที่ทำไร่ ทำสวนแต่เดิม เต็มไปด้วยพงอ้อพงแขม และพันธุ์ไม้ต่างๆ มีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิด ทางฝั่งใต้ของคลองเต็มไปด้วยป่าแสมเป็นน้ำเค็ม ฝั่งเหนือเป็นบึงใหญ่ แต่ละบึงจะมีน้ำลึก มีดอกบัวหลวงขึ้นอยู่มากมาย คนทั้ง 3 พวก ได้ช่วยกันหักร้างถางพง จนถึงสามแยกบริเวณคลองสลุด, คลองชวดลากข้าว, คลองลาดกระบัง เมื่อถึงบริเวณนี้ต่างตกลงกันว่าควรแยกย้ายกันไปหากินคนละทาง โดยให้พวกลาวไปทางคลองสลุด, คนไทยไปตามทางคลองชวดลากข้าว, พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง ต่อมาคนรามัญที่ไปทางคลองลาดกระบัง ทำ มาหากินอยู่ 2 – 3 ปี ก็ไม่ได้ผลผลิต มีนกหนูรบกวน การทำไร่ ไถนาพืชผลจึงเสียหาย เลยปรึกษาว่าจะกลับถิ่นฐานเดิมคือ ปากลัด และเริ่มอพยพในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปได้เก็บดอกบัวในบริเวณนั้นไปด้วย เพื่อนำไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด ในปีต่อมา บอกให้คนไทยที่ชอบพอกันว่า เมื่อถึงวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 11 ให้ช่วยเก็บดอกบัวไปบูชาหลวงพ่อโตในวิหาร และให้นำน้ำมนต์หลวงพ่อโต กลับไปเป็นสิริมงคลด้วย ส่วนดอกบัวที่เหลือชาวรามัญ จะนำกลับไปบูชาพระคาถาพัน จึงเป็นที่มาของประเพณีรับบัวมาจนถึงทุกวันนี้ ในปัจจุบันพอถึงเดือน 11 ขึ้น 13 ค่ำ ก่อนออกพรรษา 2 วัน Read more »

เดินชมในองค์พระนอนใหญ่สี่ชั้น แปลกแต่จริงพระพุทธรูปก็มีหัวใจ ปิดทองได้จากด้านใน

Wat-Bang-Phli-Yai-Klang-Samutprakan-021

วัดบางพลีใหญ่กลาง เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2367 มีจุดเด่นอยู่ที่พระนอนปางไสยาสน์ “พระนอนบางพลี” หรือ “สมเด็จศากยมุนีศรีสุเมธบพิตร” มีขนาดความยาวถึง 52 เมตร 50 เซนติเมตร ยาวกว่าพระนอนวัดขุนอินทประมูลที่จังหวัดอ่างทอง ส่วนความสูงๆถึง 18 เมตร สามารถเดินเข้าไปด้านในองค์พระได้ มีขนาดสี่ชั้น ชั้นบนประดิษฐานหัวใจขององค์พระนอนให้ผู้ที่มานมัสการได้ปิดทองที่หัวใจพระ

วัดบางพลีใหญ่กลางเดิมชื่อวัดกลาง เพราะตั้งอยู่ระหว่างวัดบางพลีใหญ่ใน กับวัดคงคาราม (วัดยายหนู) ซึ่งเป็นวัดร้างเดิม

เดินในพระพุทธรูปปางไสยาสน์ “พระนอนบางพลี” ปิดทองที่หัวใจพระ

สมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร หรือ พระนอนบางพลี ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2521 เนื่องจากทางวัดบางพลีใหญ่กลาง ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาวัดบางพลีใหญ่กลางด้วยการสร้างถาวรวัตถุ เพื่อเป็นเครื่องจูงใจบุคคลทั่วไปให้หันหน้าเข้าหาวัดและเป็นที่ปฎิบัติธรรม ซึ่งเห็นว่าที่ผ่านมาไม่มีการสร้างพระพุทธไสยาสน์ จึงได้สร้างพระนอนปางไสยาสน์ให้มีขนาดความยาวกว่าพระนอนที่วัดขุนอินทประมูลที่จังหวัดอ่างทองที่มีขนาดความยาว 50 เมตร ผู้มีจิตศรัทธาสามารถเดินเข้าไปในองค์พระที่มีขนาดความสูง 4 ชั้น ทางเข้าอยู่ที่ด้านหลังองค์พระ โดยมีค่าเข้าองค์พระหยอดตู้คนละ 5 บาท

Read more »

วัดบางพลีใหญ่ใน ประเพณีรับบัว สมุทรปราการ

ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบทอดกันมาแต่โบราณของชาวบางพลี สืบเนื่องจากในอดีตชาวไทยได้มีความสนิทชิดเชื้อกับชาวรามัญ เมื่อครั้งที่ชาวรามัญได้ย้ายออกจากบางพลีไปประกอบอาชีพตามแม่น้ำลำคลองที่หนแห่งอื่นกลับประสบปัญหาจึงต้องการอพยพโยกย้ายกลับสู่ถิ่นเดิมที่พระประแดง เมื่อได้กำหนดจึงชวนชาวไทยที่บางพลีรวบรวมบัวหลวงเก็บไว้ที่วัดหลวงพ่อโต (วัดบางพลีใหญ่ใน) เพื่อทีจะได้แวะเอานำไปเป็นพุทธบูชาในวันออกพรรษต่อไป

เมื่อชาวรามัญได้มากราบหลวงพ่อโตและนำดอกบัวหลวงไปแล้ว จึงได้มีการนัดแนะกันว่าทุกๆปีจะเดินทางมารับบัวหลวงในวันเดียวกันของทุกๆปีซึ่งก็คือวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ด้วยมิตรภาพไมตรีจิตที่มีให้กันระหว่างชาวไทยและชาวรามัญ จึงเกิดเป็นประเพณีรับบัวขึ้นจนมาเป็น “ประเพณีรับบัว 1 เดียวในโลก” ในราวๆเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนของทุกๆปี ที่วัดบางพลีใหญ่ใน

งานประเพณีรับบัวครั้งหนึ่งจัดหลายวัน วันที่เป็นไฮไลต์คือวันที่ประชาชนสามารถมาสักการะหลวงพ่อโตขบวนแห่เรือหลวงพ่อโตทางน้ำ โดยประชาชนจะโยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่ ชมขบวนแห่ต่างๆ นอกจากนั้นในช่วงงานนักท่องเที่ยวสามารถมาชม งานวัฒนธรรมจำลองวิถีชีวิตชาวมอญ การออกร้านจำหน่ายขนมพื้นเมือง การประกวดต่างๆ ฯ

ขอขอบคุณ http://www.zthailand.com/

วัดบางพลีใหญ่กลาง

images

วัดบางพลีใหญ่กลาง ตั้งอยู่บริเวณคลองสำโรงฝั่งเหนือ ตำบลบางพลีใหญ่ ห่างจากวัดบางพลีใหญ่เล็กน้อย สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2367 ชาวบ้านเรียก ว่า วัดกลาง ต่อมาเปลี่ยนเป็น วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม และครั้งสุดท้ายเปลี่ยนเป็นวัดบางพลีใหญ่กลาง เป็นที่ประดิษฐานสมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยาว 53 เมตร ภายในพระนอนมีห้องปฏิบัติธรรม ภาพเขียนเรื่องราวของเทวดา นรก และมีห้องหัวใจพระซึ่งประชาชนนิยมมาปิดทองเพื่อเป็นศิริมงคล

พระนอนวัดบางพลีใหญ่กลาง

พระนอนที่มีพุทธลักษณะที่สวยงาม และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประดิษฐาน ณ วัดบางพลีใหญ่กลาง พระนามเป็นทางการคือ สมเด็จพระศากยมุนีศรีสุเมธบพิตร ขนาดความยาววัดจาก พระเกศถึงปลายพระบาท 26 วา 1 ศอก 9 นิ้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ อยู่บนอาคาร 4 ชั้น ใช้เป็นที่ปฏิบัติกรรมฐานภายในอาคารมีภาพเขียน แสดงเรื่องราวพุทธประวัติอันวิจิตรงดงาม

ขอขอบคุณ http://samutprakan.mots.go.th/

. . . . . . .
. . . . . . .