วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ (สวนพุทธธรรม)

temple-aumong-gooloo-chiangmai-7

วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ (สวนพุทธธรรม) เมื่อสองวันก่อนได้ไปเที่ยววัดนี้ ส่วนตัวแล้วไปมาหลายครั้งแล้วครับ การนี้ไปเที่ยวหาเพื่อนที่เค้าบวชอยู่ที่นี่ ผมก็เลยไปเก็บภาพบรรยากาศ ณ เวลาเมื่อสองวันที่แล้วฝากกัน โดยใช้กล้อง Fuji s100 โหมด ออโต้ นะครับ ผมก็ถ่ายภาพไม่ค่อยจะเป็นหรอกครับตามสภาพนั้นแหละนะ ที่นี่ก็มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศมาเที่ยวกันเยอะครับพื้นที่ในวัดอุโมงค์ เชียงใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นป่าไม้ มีอุโมงค์ มีสระน้ำ นักเที่ยวชอบซื้อขนมปังให้กับปลา อาหารเม็ดให้กับนก ปล่อยปลา เป็นที่พักผ่อนจิตใจ ปฏิบัติธรรม ประวัติผมก็ไม่รู้มากหรอกครับ ผมหาข้อมูลมาให้แล้วด้านล่างเลยครับ

ขอขอบคุณ http://gooloochiangmai.com/

วิทยาศาสตร์กับโบราณคดีที่วัดอุโมงค์

news_img_36482_1

นักวิจัยเชียงใหม่ใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ ไขปริศนาจิตกรรมฝาผนังภายในวัดอุโมงค์ เผยชั้นขงอสีและลวดลายที่หลบซ่อนภายในภายใต้ความชำรุดลบเลือน

อาจารย์อติชาต เกตตะพันธุ์ บัณฑิตโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นผู้ประสานงาน หน่วยวิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โบราณคดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำความรู้วิทยาศาสตร์มาใช้กับการศึกษาทางโบราณคดี
การใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาศึกษาโบราณคดี ทำให้งานวิจัยน่าสนใจและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ในส่วนของวิทยาศาสตร์นั้นคนทั่วไปคงพอจะทราบอยู่แล้ว ส่วนความรู้ทางคณิตศาสตร์ ทั้งเรขาคณิต พีชคณิต และการวัด ก็สามารถนำมาศึกษาทางโบราณคดีได้ ยกตัวอย่างเช่น

Read more »

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) โบราณสถาน วัดโบราณ จังหวัดเชียงใหม่

p18iqldijr1tsc91841e1rc2m155

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เป็นสถานที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ของพุทธนิคม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดเก่าสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อถวายเพื่อให้พระมหาเถรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกอาศัย วัดอุโมงค์นี้ มีบริเวณเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีกำแพงอิฐปรากฏอยู่ทั้งสี่ด้าน

– ด้านตะวันออกจากขอบสระใหญ่
– ด้านเหนือตรงไปทางทิศเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันจรด กำแพงอิฐพอดี ยาวประมาณ 100 วา
– ด้านเหนือจากแนวกำแพงเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันทางทิศตะวันตก จนถึงขอบสระหลังวัดอุโมงค์ ยาวประมาณ 100 วา
– ด้านตะวันตกจากขอบ สระแนวกำแพงด้านเหนือ ถึงขอบสระใหญ่ใต้พระเจดีย์ ยาวประมาณ 100 วา
– ด้านใต้ จากขอบสระหลังพระเจดีย์ตรงไปทางตะวันตกออกจรดกำแพงทิศตะวันออกหน้าพระอุโบสถ ยาวประมาณ 100 วา
– มีพระอุโบสถขนาดย่อมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีพระเจดีย์ใหญ่แบบลังกาวงศ์ และอุโมงค์(ถ้ำ) 1 อุโมงค์ มีทางเข้า 3 ทาง ตั้งอยู่ตลอด
แนววัดด้านตะวันตก
– มีศาลาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากหน้าอุโมงค์ไปประมาณ 1 เส้น คิดเป็นเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 25 ไร่

Read more »

เจดีย์อุโมงค์ วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

BS-CM-TP031b

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 29 ถ.ราชภาคินัย ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ด้านในของกำแพงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งบริเวณใกล้เคียงวัดจะมีวัดบ้านปิง วัดสำเภา วัดหมื่นล้าน ซึ่งอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นวัดที่ไม่ใหญ่มากนัก
ในต้นฤดูหนาว ปี พ.ศ.2461 พบว่าเป็นวัดร้าง มีอาณาบริเวณไม่กว้างมากนักและมีซากอุโมงค์สำหรับเป็นที่เดินจงกรม มีความยาวประมาณ 6 เมตร กว้าง 1.1 เมตร ลึกประมาณ 2.1 เมตร มีป้ายติดอยู่กับหลักบอกชื่อว่า “วัดอุโมงค์ (เถรจันทร์)” เรียกอีกอย่างว่า “วัดโพธิ์น้อย” มีเนื้อที่ทั้งหมด 2 ไร่ 2 งาน 43 ตารางวา เป็นวัดที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 สิ่งสำคัญภายในวัดก็จะมี วิหารเป็นสถาปัตยกรรมล้านนา สร้างขึ้นระหว่างปีพุทธศตวรรษ 24-25 เจดีย์องค์ใหญ่ที่อยู่หลังวิหาร

สำหรับเจดีย์ด้านทิศใต้ของวิหารนี้ เป็นโบราณสถานที่สำคัญของวัดอุโมงค์เถรจันทร์เพราะมีศิลปกรรมที่ผิดแผกไปจากเจดีย์ทั่วๆไปของจังหวัดเชียงใหม่ ตามลักษณะของเจดีย์แล้ว คาดการณ์กันว่าอาจจะสร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้จริง เจดีย์องค์นี้น่าจะเป็นแบบอย่างของโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ของแคว้นล้านนาไทย ที่เริ่มสร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 ทั้งนี้เพราะยากที่จะหาโบราณสถานใดๆในศิลปะแบบล้านนาที่จะมีอายุเก่าแก่ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้

Read more »

วัดอุโมงค์ เชียงใหม่

wat_umong1

วัดอุโมงค์ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ปฎิบัติธรรม เป็นวัดสายป่า วัดอุโมงค์สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายราว พ.ศ. 1839 เพื่อให้ฝ่ายอรัญวาสีจำพรรษา ต่อมาพญากือนา ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อให้พระมหาเถระจันทร์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐาน อุโมงค์นี้มีลักษณะเป็นกำแพงภายในเป็นทางเดินหลายช่องทะลุกันได้ ภายในอุโมงค์เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิษฐานว่าวาดในระหว่าง พ.ศ.1900-2000 แต่เดิมคงเป็นภาพจิตรกรรมเต็มบริเวณของทุกห้อง ส่วนใหญ่เป็นภาพดอกบัว ดอกโบตั๋น และ นกต่าง ๆ เช่น นกยูง นกกระสา นกแก้ว และนกเป็ดน้ำ

ด้านบนอุโมงค์เป็นเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่ของล้านนา นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าสร้างประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นเจดีย์ทรงระฆัง มีชั้นทรงกลมประมาณ 3 ชั้นเหมือนกลีบบัวซ้อนกันอยู่ ด้านบนมีปลียอด ด้านหน้าอุโมงค์มีเศียรพระพุทธรูปหินสลักสกุลช่างพะเยา พ.ศ.1950-2100 บริเวณวัดเป็นสวนพุทธธรรม ร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ เป็นสวนป่าที่เหมาะกับการนั่งวิปัสสนา ด้านหลังเป็นสวนป่าและสวนสัตว์ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน เดินเล่นได้ และเป็นสถานที่ดูนกที่ดีอีกแห่งหนึ่ง

Read more »

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)

1255184248

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)

: ป้ายชื่อวัดใหม่มีความสวยงามมากเลยครับ และ จะงดงามมากกว่านี้ ถ้าถ้าป้ายวัดอุโมงค์ใหม่จะไม่ไปบังป้ายวัดอุโมงค์เก่า ด้วยการย้าย หรือ ทำให้เสาป้ายใหม่อยู่เบื้องหลังกำแพงและให้ป้ายใหม่อยู่สูงกว่ากำแพงสักเล็กน้อย ก็จะได้เห็นป้ายใหม่อันสวยงามเด่นเป็นสง่ามาแต่ไกล และ ป้ายเก่าก็จะไม่ได้น้อยใจที่ถูกบังจากสายตาแห่งสาธุชน. Read more »

วัดอุโมงค์เถรจันทร์ เป็นชื่อเรียกวัดเก่าแก่ที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงสร้าง

ประวัติวัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) หรือ วัดอุโมงค์เถรจันทร์ หรือวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เป็นวัดที่ตั้ง อยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ทางทิศใต้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ตั้งอยู่ในซอยหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวัดที่ปัจจุบันตั้งอยู่ในชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอย่างหนาแน่น และมีหอพักนักศึกษาอยู่บริเวณใกล้เคียงวัดจำนวนมาก บางท่านอาจรู้จักในนาม วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม ชื่อนี้เป็นการนำชื่อสองชื่อมารวมกัน ชื่อแรก คือ

“วัดอุโมงค์” หรือ “วัดอุโมงค์เถรจันทร์” เป็นชื่อเรียกวัดเก่าแก่ที่พระเจ้ากือนา ธรรมิกราชทรงสร้างขึ้น เพื่อถวายพระมหาเถรจันทร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกพำนักจำพรรษาในวัดแห่งนี้ ส่วนชื่อที่ 2 คือ “วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม” เป็นชื่อใหม่ที่ภิกขุปัญญานันทะ ประธานสงฆ์วัดอุโมงค์ ในช่วง พ.ศ. 2492 ? พ.ศ. 2509 ตั้งขึ้นเพื่อเรียกสถาปนาป่าผืนใหญ่ที่ปกคลุมวัดร้างโบราณ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ เป็นที่อยู่ของภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้แสวงหาความสงบ รวมเอาวัดไผ่ 11 กอ (วัดเวฬุกัฏฐาราม) และวัดอีก 4 วัด ที่อยู่ใกล้ ๆเอาไว้ ด้วย ซึ่งก็คืออาณาบริเวณวัดอุโมงค์ที่รู้จักกันทุกวันนี้เอง

Read more »

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) รำลึก ภิกขุ ปัญญานันทะ

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดอุโมงค์ – พระเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ที่พระเจ้ากือนาทรงโปรดให้บูรณะขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปสักการะได้ หลักศิลาจารึกการบูรณะซ่อมแซมวัดอุโมงค์ ที่คณะพุทธนิคมได้จัดทำขึ้นตั้งอยู่บริเวณหน้าอุโมงค์ เสาหินอโศกจำลอง ตั้งอยู่บริเวณหน้าอุโมงค์ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง อยู่บริเวณหน้าอุโมงค์แสดงเศียรพระพุทธรูปที่ชำรุด โรงภาพปริศนาธรรมเป็นสถานที่แสดงภาพที่แฝกคำสอนทางพุทธศาสนา มีประชาชนให้ความสนใจเข้าชมจำนวนมาก หอสมุดธรรมโฆษ ชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์และให้บริการยืมเทปธรรมะ ชั้นล่างทำเป็นห้องสมุดบริการแก่ประชาชนทั่วไป เปิดทุกวันยกเว้นวันพระ และวันหยุดประจำปี สระน้ำภายในวัดอุโมงค์มีสัตว์ เช่น ปลา เต๋า นก และสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดคือ ภาพจิตรกรรมในอุโมงค์ ซึ่งมีความเก่าแก่และมีคุณค่าทางด้านศิลปะประวัติศาสตร์มาก

Read more »

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ (วัดโพธิ์น้อย)

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ (วัดโพธิ์น้อย) ชาวบ้านเรียกว่า วัดอุโมงค์เถรจันทร์ เดิมชื่อว่า “วัดโพธิ์น้อย” ตั้งอยู่ภายในเขตด้านในกำแพงเมืองเชียงใหม่ เลขที่ 129 ถ.ราชภาคินัย ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่

วัดนี้ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.1839-1840 สร้างโดยพระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์ คือ พญามังราย หรือพระเจ้าเม็งราย ผู้ปกครองเมืองเชียงราย พญางำเมือง ผู้ปกครองเมืองพะเยา และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยอ้างหลักฐานจาก “คัมภีร์ธรรมปัญหาเถรจันทศรมณ์” กล่าวคือเมื่อครั้งที่สร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อกษัตริย์ทั้งสามได้วางผังเมืองเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดสร้าง “วัดโพธิ์น้อย” ขึ้นเป็นวัดแรกของเชียงใหม่ และได้สร้างไว้ที่ในจุดกลางเมือง

อุโบสถสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1839-1840 เป็นลักษณะทรงไทยแบบล้านนา ก่อด้วยอิฐถือปูนขาว เสาและโครงหลังคาเป็นไม้สักทั้งหลัง ของเดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องเคลือบ วิหารสร้างเมื่อปี พ.ศ.1910-1914 มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบล้านนาเช่นกัน

Read more »

วัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์ ตั้ง อยู่ที่ถนนสุเทพ อำเภอเมือง หากไปจากตลาดต้นพยอม วิ่งผ่านสี่แยกคลองชลประทานด้านหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประมาณ 500 เมตร เข้าซอยทางด้านซ้ายมือไปประมาณ 2 กิโลเมตร

วัดอุโมงค์สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายราวปี พ.ศ. 1839 เพื่อให้ฝ่ายอรัญวาสีจำพรรษา ต่อมาพญากือนา ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อให้พระมหาเถระจันทร์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐาน อุโมงค์นี้มีลักษณะเป็นกำแพงภายในเป็นทางเดินหลายช่องทะลุกันได้ ภายในอุโมงค์เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิษฐานว่าวาดในระหว่าง พ.ศ.1900-2000 แต่เดิมคงเป็นภาพจิตรกรรมเต็มบริเวณของทุกห้อง ส่วนใหญ่เป็นภาพดอกบัว ดอกโบตั๋น และ นกต่างๆ เช่น นกยูง นกกระสา นกแก้ว และนกเป็ดน้ำ

Read more »

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ จ.เชียงใหม่

wat-umongmahatherachan1

หรือ วัดโพธิ์น้อย ตั้งอยู่ใกล้กับ วัดดวงดี คัมภีร์ธรรมปัญหาเถรจันทศรมณ์ ได้กล่าวว่า สร้างขึ้นในรัชสมัย พญามังราย ในราวปี พ.ศ. 1839-1840 เมื่อครั้งสถาปนาเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานี

ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้ากือนา โปรดฯให้บูรณะศาสนสถาน เมื่อปี พ.ศ.1918 และทรงพระราชทานนามว่า วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ตามนามของพระมหาเถรจันทร์เจ้าอาวาสวัด ซึ่งเป็นพระเถรผู้ใหญ่ที่พระองค์ทรงให้ความเคารพนับถือ

เมื่อครั้งบูรณะวัดในคราวปัจจุบัน ได้พบซากอุโมงค์สำหรับเดินจงกรม อยู่ภายในวัดอีกด้วย?

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ตั้งอยู่ที่ ถ.ราชภาคินัย ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

Read more »

วัดอุโมงค์

วัดอุโมงค์ ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ อำเภอเมือง หากไปจากตลาดต้นพยอม วิ่งผ่านสี่แยกคลองชลประทานด้านหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประมาณ 500 เมตร เข้าซอยทางด้านซ้ายมือไปประมาณ 2 กิโลเมตร

วัดอุโมงค์สร้างขึ้นใน สมัยพญามังรายราวปี พ.ศ. 1839 เพื่อให้ฝ่ายอรัญวาสีจำพรรษา ต่อมาพญากือนา ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อให้พระมหาเถระจันทร์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐาน อุโมงค์นี้มีลักษณะเป็นกำแพงภายในเป็นทางเดินหลายช่องทะลุกันได้ ภายในอุโมงค์เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิษฐานว่าวาดในระหว่าง พ.ศ.1900-2000 แต่เดิมคงเป็นภาพจิตรกรรมเต็มบริเวณของทุกห้อง ส่วนใหญ่เป็นภาพดอกบัว ดอกโบตั๋น และ นกต่างๆ เช่น นกยูง นกกระสา นกแก้ว และนกเป็ดน้ำ

Read more »

วัดอุโมงค์ เชียงใหม่…เที่ยวชมโบราณสถานเก่าแก่ที่มีความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่

wat-umong29

วัดอุโมงค์ เชียงใหม่…เที่ยวชมโบราณสถานเก่าแก่ที่มีความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่
มาจังหวัดเชียงใหม่อยู่หลายครั้งครับ ไม่เคยมาที่วัดอุโมงค์ เชียงใหม่สักที คราวนี้ไม่มีพลาด ได้โอกาสมาไหว้พระ และชมความงามของวัดอุโมงค์ เชียงใหม่กัน ผมเดินทางมาที่วัดอุโมงค์ หลังจากที่ได้ไปไหว้พระที่วัดลอยเคราะห์ จากวัดลอยเคราะห์นั่งรถสองแถวแดง

วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ อยู่บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ หลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับ จริงๆ วัดอุโมงค์มีทางเข้าวัดหลายด้านนะครับ ถ้าให้สะดวกก็ไปทางหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับสะดวกสุด ไม่หลงแน่นอน ส่วนใครที่ไม่ได้ไปรถยนตร์ส่วนตัว ก็เรียกใช้บริการรถสองแถวแดงครับ

วัดอุโมงค์ เชียงใหม่
ทางเข้าหน้าวัดอุโมงค์ เชียงใหม่ครับ เมื่อเข้าไปแล้วก็จะพบกับศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาวัดอุโมงค์ เชียงใหม่เลยครับ ใครสนใจซื้อหนังสือเกี่ยวกับธรรมะดีๆ ก็เข้ามาที่นี่เลย หรือจะแวะก่อนกลับบ้านก็ได้ครับ บริเวณด้านหน้าแถวนี้ก็เป็นที่จอดรถ เพื่อนๆ สามารถจอดรถได้แถวนี้เลยครับ

Read more »

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ และตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรืออยู่ในซอยหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติ
เหตุการณ์ล่วงผ่านไปอดีต เมื่อปี พ.ศ. 1839 พระยามังรายทรงสร้างอาณาจักรล้านนาร่วมกับพระสหาย คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์ปกครองสุโขทัย และพระเจ้างำเมือง กษัตริย์ปกครองพะเยา มาสร้างเมืองเวียงเหล็ก (บริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน) และตั้งชื่อเมืองว่า “นพบุรี ศรีนครพิงค์” ท่านมีความใฝ่ในศาสนาพุทธ จึงทรงทำนุบำรุง ส่งเสริมศาสนาให้รุ่งเรืองในล้านนา ในขณะนั้น ทางฝ่ายพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ส่งคนนิมนต์พระสงฆ์จากลังกามาอาศัยอยู่ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อที่พระสงฆ์ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุโขทัย เมื่อพระยามังรายทราบข่าวดังกล่าว จึงส่งคนไปนิมนต์พระลังกาจากพระเจ้ารามคำแหง 5 รูป โดยมีพระกัสสปะเถระเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์นี้ โดยจำพรรษาที่วัดการโถม ต่อมาพระยามังรายสร้างวัดเวฬุกัฏฐาราม (ปัจจุบัน คือ วัดอุโมงค์) เมื่อสร้างเสร็จจึงอาราธนาพระมหากัสสปะเถระจำพรรษาที่วัดแห่งนี้

Read more »

วัดอุโมงค์–สถานที่สำคัญในวัด เสาหินอโศก

j004

เสาหินอโศกจำลองจริง ๆ แล้วอยู่ที่ประเทศอินเดีย สาเหตุที่ได้ชื่อว่าเสาหินอโศกก็เพราะว่า พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ครองอาณาจักรอันกว้างใหญ่ในสมัยของพระองค์เป็นผู้สร้างขึ้นมา มีอยู่ทั้งหมด 48 ต้น แต่ละต้นก็จะจารึกหลักธรรมคำสอนของพระองค์แก่อาณาประชาราษฎร์ ชมพูทวีปในครั้งนั้นจึงถือว่าเป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง เพราะมีมหากษัตริย์ทรงทศพิศราชธรรม

เสาหินอโศกจำลองที่เห็นอยู่ในรูปภาพนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาในอดีต และทำให้เราได้รำลึกถึงพระราชเกียรติของพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ด้วย

ขอขอบคุณ http://www.watumong.org/

 

. . . . . . .
. . . . . . .