Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

วัดพระศรีสรรเพชญจังหวัดอยุธยา

071

วัดพระศรีสรรเพชญ ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังโบราณ เป็นวัดพุทธาวาสที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง และเก็บอัฐิของพระมหากษัตริย์
เปรียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันเหลือเพียงซากอิฐปูนและเจดีย์สามองค์ที่ตั้งตะหง่านเป็นจุดเด่น แต่ยังคงเป็นจุดที่
ดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมอยู่เสมอ และเมื่อได้ลองจินตนาการดู
ก็จะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่และความงดงามของกรุงศรีอยุธยาในสมัยที่ยังเป็นราชธานี

ประวัติ
วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ใช้เป็นที่ประทับ
ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ
แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง
จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แตกต่างกับวัดมหาธาตุสุโขทัย
ที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดมหาธาตุ สุโขทัย,วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา
และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้นในมูลเหตุการสร้างวัดเดียวกันนั่นคือ
“สร้างเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง”

Read more »

วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แตกต่างกับวัดมหาธาตุสุโขทัย ที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดมหาธาตุ สุโขทัย,วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้นในมูลเหตุการสร้างวัดเดียวกันนั่นคือ “สร้างเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง”

ต่อมาในปี พ.ศ. 2035 รัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์องค์ตะวันออก เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระราชบิดา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระสถูปเจดีย์องค์กลางเพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ผู้เป็นพระเชษฐา

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2042 พระองค์โปรดให้สร้างพระวิหารหลวงขึ้น

ในปีต่อมา พ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระวิหาร ทรงหล่อพระพุทธรูป ยืนสูง 8 วา (ประมาณ 16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ ซึ่งภายหลังเมื่อเสียกรุง พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด และองค์พระพังยับเยิน รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาประดิษฐานวัดพระเชตุพน และ บรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า เจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ เจดีย์องค์ที่ 3 ถัดมาจากด้านทิศตะวันตกเป็น เจดีย์บรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4(พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น เจดีย์ทั้งสามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา

Read more »

วัดบรมพุทธาราม และ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท

large_b1

ศุนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดตั้งขึ้นตามโครงการที่นักวิชาการไทยและนักวิชาการญี่ปุ่นปรับขยายมาจากข้อเสนอเดิมของสมาคมไทย-ญี่ปุ่นและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเคยเสนอปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นให้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่น มาเป็นการเสนอให้จัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑสถานเกี่ยวกับราชอาณาจักรอยุธยาโดยรวม และได้รับงบประมาณช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงิน ๙๙๙ ล้านเยน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา และเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่มิตรภาพระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับราชอาณาจักรไทยได้สถาวรยืนนานมาครบ ๑๐๐ ปี

วัดบรมพุทธาราม อยู่ภายในบริเวณสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” เพราะแต่เดิมนั้นพระอุโบสถมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียว วัดนี้สมเด็จพระเพทราชาทรงสร้างขึ้นที่บริเวณพระนิเวศน์เดิม

Read more »

วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยา

wat-boromphuttharam1

วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยาหรือ วัดกระเบื้องเคลือบ เป็นวัดเก่าที่ สมเด็จพระเพทราชา โปรด ฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2226 เมื่อครั้งยังรับราชการกรมช้าง ในบริเวณย่านป่าตอง อันเป็นนิวาสเดิมก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ โดยวัดได้มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา อีกทั้งยังเป็นที่จำพรรษาของพระราชาคณะ
ศาสนสถานที่สร้างขึ้นนั้น โปรด ฯ ให้หมื่นจันทรา ช่างเคลือบกระเบื้องสี มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ซึ่งแตกต่างจากวัดอื่น อันเป็นที่มาของนามวัด
ต่อมารัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2295 โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด และโปรดให้ทำบานประตูประดับมุกสำหรับพระอุโบสถ ซึ่งบานประตูดังกล่าวปัจจุบันอยู่ ณ หอมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) คู่หนึ่ง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามคู่หนึ่ง ส่วนอีกคู่หนึ่งได้ถูกลักลอบตัดไปทำตู้หนังสือและติดตามคืนมาได้ ปัจจุบันได้เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

Read more »

วัดบรมพุทธาราม นิวาสถานเดิมสมเด็จพระเพทราชา

IMG_9400

วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยา หรือ วัดกระเบื้องเคลือบ เป็นวัดเก่าที่ สมเด็จพระเพทราชา โปรด ฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2226 เมื่อครั้งยังรับราชการกรมช้าง ในบริเวณย่านป่าตอง อันเป็นนิวาสเดิมก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ โดยวัดได้มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา อีกทั้งยังเป็นที่จำพรรษาของพระราชาคณะ

ศาสนสถานที่สร้างขึ้นนั้น โปรด ฯ ให้หมื่นจันทรา ช่างเคลือบกระเบื้องสี มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ซึ่งแตกต่างจากวัดอื่น อันเป็นที่มาของนามวัด
ต่อมารัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2295 โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด และโปรดให้ทำบานประตูประดับมุกสำหรับพระอุโบสถ ซึ่งบานประตูดังกล่าวปัจจุบันอยู่ ณ หอมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) คู่หนึ่ง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามคู่หนึ่ง ส่วนอีกคู่หนึ่งได้ถูกลักลอบตัดไปทำตู้หนังสือและติดตามคืนมาได้ ปัจจุบันได้เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

Read more »

วัดบรมพุทธาราม อยุธยา

อยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ประมาณพ.ศ.2231-2246 ณ บริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ตั้งของวัดถูกจำกัดโดยเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ คือด้านตะวันออกเป็นแนวคลองฉะไกรน้อย ด้านตะวันตกเป็นแนวถนนหลวงชื่อถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง แนวถนนและคลองดังกล่าวบังคับแผนผังของวัดให้วางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยหันหน้าวัดไปทางทิศเหนือ วัดนี้แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ทรงโปรดฯให้ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองขึ้นมุงหลังคาพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ และใช้ประดับเจดีย์และซุ้มประตู จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีจึงแล้วเสร็จ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ครั้งใหญ่และให้ทำบานประตูมุกฝีมืองดงาม 3 คู่ บานประตูมุกนี้ปัจจุบัน คู่หนึ่งอยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คู่หนึ่งอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และอีกคู่หนึ่งมีผู้ตัดไปทำตู้หนังสือซี่งขณะนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

ท่องเที่ยววัดบรมพุทธาราม

วัดบรมพุทธาราม
อยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ประมาณพ.ศ.2231-2246 ณ บริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ตั้งของวัดถูกจำกัดโดยเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ คือด้านตะวันออกเป็นแนวคลองฉะไกรน้อย ด้านตะวันตกเป็นแนวถนนหลวงชื่อถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง แนวถนนและคลองดังกล่าวบังคับแผนผังของวัดให้วางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยหันหน้าวัดไปทางทิศเหนือ วัดนี้แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ทรงโปรดฯให้ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองขึ้นมุง หลังคาพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ และใช้ประดับเจดีย์และซุ้มประตู จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีจึงแล้วเสร็จ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ครั้งใหญ่และให้ทำ บานประตูมุกฝีมืองดงาม 3 คู่ บานประตูมุกนี้ปัจจุบัน คู่หนึ่งอยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คู่หนึ่งอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และอีกคู่หนึ่งมีผู้ตัดไปทำตู้หนังสือซี่งขณะนี้ตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

วัดบรมพุทธราม..”วัดเคียงคู่ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา”

large_b2

วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ในสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยาทางด้านทิศตะวันตก
เป็นวัดที่สมเด็จพระเพทราชากษัตริย์อยุธยาองค์ที่ 28 แห่งราชวงค์บ้านพลูหลวง
โปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถาน(บ้าน)เดิม
วัดนี้เคยเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระอุโบสถ วิหารการเปรียญ
มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบแปลกประหลาดกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า
“วัดกระเบื้องเคลือบ”

การมุงหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียวนี้ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ได้โปรดให้มุงหลังคา พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทในวังนารายณ์ราชนิเวศน์
และวิหารกลางในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เมื่อพระเพทราชารับราชการ
เป็นเจ้ากรมช้าง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยู่ที่วังนารายณ์ราชนิเวศน์
คงเห็นหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองสวยงามดี จึงได้ให้มุงหลังคากระเบื้องเคลือบ
ที่วัดบรมพุทธารามนี้บ้าง

Read more »

เสน่ห์แห่งศิลปะโบราณคดีที่ วัดบรมพุทธาราม

37_20101203102307.

วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ประมาณพ.ศ.2231-2246 ณ บริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ตั้งของวัดถูกจำกัดโดยเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ คือ

ด้านตะวันออกเป็นแนวคลองฉะไกรน้อย ด้านตะวันตกเป็นแนวถนนหลวงชื่อถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง แนวถนนและคลองดังกล่าวบังคับแผนผังของวัดให้วางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยหันหน้าวัดไปทางทิศเหนือ

วัดนี้แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ทรงโปรดฯให้ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองขึ้นมุง หลังคาพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ และใช้ประดับเจดีย์และซุ้มประตู จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีจึงแล้วเสร็จ

Read more »

วัดบรมพุทธาราม

วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ในสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยาทางด้านทิศตะวันตก
เป็นวัดที่สมเด็จพระเพทราชากษัตริย์อยุธยาองค์ที่ 28 แห่งราชวงค์บ้านพลูหลวง
โปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถาน(บ้าน)เดิม
วัดนี้เคยเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระอุโบสถ วิหารการเปรียญ
มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบแปลกประหลาดกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า
“วัดกระเบื้องเคลือบ”

การมุงหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียวนี้ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ได้โปรดให้มุงหลังคา พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทในวังนารายณ์ราชนิเวศน์
และวิหารกลางในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เมื่อพระเพทราชารับราชการ
เป็นเจ้ากรมช้าง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยู่ที่วังนารายณ์ราชนิเวศน์
คงเห็นหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองสวยงามดี จึงได้ให้มุงหลังคากระเบื้องเคลือบ
ที่วัดบรมพุทธารามนี้บ้าง

Read more »

ประวัติและความสำคัญของวัดบรมพุทธาราม

วัดบรมพุทธาราม เป็นวัดขนาดเล็กมีฐานะเป็นพระอารามหลวงฝ่ายคามวาสีครั้งกรุงศรีอยุธยา(๒) และเป็นที่สถิตของพระราชาคณะที่มีฐานานุศักดิ์เป็นพระญาณสมโพธิ์ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า สมเด็จพระเพทราชาโปรดฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้นในบริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิม เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๒(๓) โดยโปรดฯ ให้สถาปนากำแพงแก้ว พระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ เสนาสนะ กุฎี และให้หมื่นจันทราช่างเคลือบให้เคลือบกระเบื้องสีเหลืองมุงหลังคาพระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ สร้างอยู่ ๒ ปี จึงเสร็จ ถวายนามพระอารามชื่อว่า “วัดบรมพุทธาราม” แล้วสมโภชฉลอง ๓ วัน ๓ คืน เจ้าอธิการซึ่งนิมนต์เข้ามาอยู่นั้นตั้งให้เป็นพระราชาคณะชื่อ “พระญาณสมโพธิ” ทรงพระราชูทิศเป็นพระรัตนตรัยบูชา พระราชกัลปนาส่วยขึ้นพระอารามเป็นอันมาก มีแห่พระยุหยาตรากฐินหลวง นาคหลวง สระสนาน ช้าง ม้า ที่มีเป็นการพิเศษ
เนื่องจากวัดนี้เคยเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบแปลกประหลาดกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” การมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียวนี้ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้มุงหลังคาพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท ในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ และวิหารหลวงในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เมื่อสมเด็จพระเพทราชาเป็นเจ้ากรมช้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอยู่ที่พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ คงเห็นหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองสวยงามดี จึงให้มุงหลังคากระเบื้องเคลือบที่วัดบรมพุทธารามนี้บ้าง
Read more »

วัดบรมพุทธาราม– ที่ตั้งโบราณสถาน

ปัจจุบันวัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(๑) ในเขตของสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา บนพื้นที่กึ่งกลางค่อนไปทางทิศใต้ของเกาะเมือง ริมถนนศรีสรรเพชญ์ (ถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง) ฟากตะวันออก ใกล้ประตูชัยซึ่งเป็นประตูใหญ่บนแนวกำแพงเมืองด้านใต้ ในบริเวณที่ตั้งวัดนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นย่านป่าตอง ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งนิวาสสถานของสมเด็จพระเพทราชามาก่อน เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วจึงได้สถาปนาขึ้นเป็นพระอาราม ทางด้านทิศตะวันออกของวัดติดกับคลองฉะไกรน้อย ซึ่งเป็นคลองที่ชักน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเกาะเมืองเข้ามาสู่บึงพระรามทางด้านทิศเหนือ ในบริเวณคลองนี้มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจการค้า เพราะมีตลาดน้ำและตลาดบกที่สำคัญ คือ ตลาดป่าตอง ซึ่งแนวถนนและคลองดังกล่าวอาจจะมีส่วนทำให้แผนผังของวัดต้องวางตัวตามแนวเหนือ–ใต้ เพราะพื้นที่แคบไม่สามารถวางตัวตามแนวทิศตะวันออก–ตะวันตกได้

โดยสรุปอาณาเขตติดต่อของวัดบรมพุทธารามกับเขตอื่น ๆ ได้แก่
ทิศเหนือ ติดกับพื้นที่ว่าง ถัดขึ้นไปเป็นที่ตั้งอาคารเรียนของสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก ติดกับแนวคลองฉะไกรน้อย ถัดไปเป็นที่ตั้งของวัดสิงหาราม
ทิศใต้ ติดกับพื้นที่ว่างเปล่า ถัดลงไปเป็นที่ตั้งบ้านพักอาจารย์ของสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก ติดกับแนวถนนศรีสรรเพชญ์ (ถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง)

ขอขอบคุณ http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/

นมัสการพระพุทธรูปทองคำ และชมพิพิธภัณฑ์ ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

wattraimitr-02

วัดไตรมิตรวิทยาราม ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ. 2375 มีชื่อเดิมว่า “วัดสามจีน” เข้าใจกันว่า จีน 3 คนร่วมกันสร้างพระอารามเพื่อเป็นวิหารทานการบุญ และได้เปลี่ยนนามใหม่เป็น วัดไตรมิตรวิทยาราม เมื่อปี พ.ศ. 2482 ต่อมาได้รับพระราชทานยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499
วัดไตรมิตรวิทยารามได้มีการจัดสร้างพระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราช สมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาในปี พ.ศ. 2550 โดยได้รับความร่วมมือจากประชาคมนักธุรกิจเขตสัมพันธวงศ์ ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนและพุทธศาสนิกชน ปัจจุบันได้เปิดให้นักท่องเที่ยวกับพุทธศาสนิกชนได้เยี่ยมชมพระมหามณฑป และนมัสการพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553
พระมหามณฑปฯ มีความสูงสี่ชั้น ชั้นล่างสุดเป็นพื้นที่จอดรถ ชั้นสองและสามเป็นพิพิธภัณฑ์ และชั้นสี่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก เรามาเดินชมสถานที่ต่างๆ ภายในพระมหามณฑปแต่ละชั้นกัน
Read more »

ขอพรหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรงามวิจิตร เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์เยาวราช กรุงเทพ

วัดไตรมิตร10

ไม่ได้ไปเยือนแถวเยาวราชเสียนาน เมื่อโฉบเฉี่ยวไปก็ต้องตะลึงในความยิ่งใหญ่สวยงามของพระมหามณฑปของวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่บริเวณส่วนหัวของมังกรในความเชื่อเรื่องถนนสายมังกร โดยวัดนี้เดิมเป็นวัดโบราณชื่อว่า “วัดสามจีน” เนื่องจากเชื่อว่าผู้ที่สร้างวัดเป็นชาวจีนกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย ในจำนวนนั้นมีชาวจีน 3 คนที่สร้างเนื้อสร้างตัวจนร่ำรวยเป็นเจ้าสัว มีจิตศรัทธาร่วมใจกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น จึงเรียกว่าวัดสามจีน แต่ภายหลังจากที่มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร”

พระพุทธทศพลญาณ พระประธานของวัดไตรมิตร
แต่ก่อนที่จะขึ้นไปเยี่ยมชมพระมหามณฑปที่สวยเด่นเป็นสง่าหลังใหม่นี้ ก็ต้องไปยังพระอุโบสถที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2490 แทนพระอุโบสถเดิมที่เสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นพระอุโบสถทรงจัตุรมุข หลังคาสามชั้น มีชานรอบพระอุโบสถ บานประตู หน้าต่างเขียนลายรดน้ำสวยงาม ภายในประดิษฐาน “พระพุทธทศพลญาณ” พระประธานของวัดไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้นลงรักปิดทอง

Read more »

วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร Wat Traimitr Withayaram

3

วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมมีชื่อว่า วัดสามจีนใต้ มีคำเล่ากันว่าวัดสามจีน เดิมมีอยู่สามวัด คือ วัดสามจีนอยู่ในคลองบางอ้อด้านตรงข้ามกับเทเวศร์วัดหนึ่ง วัดสามจีนเหนือ บางท่านก็ว่าอยู่ที่บางขุนพรหม บางที่ก็ว่าอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี สำหรับวัดที่อยู่บางขุนพรหม คือ วัดสังเวชวิศยาราม ส่วนที่อยู่จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ วัดโชติการาม อำเภอเมืองนนทบุรี และวัดสามจีนใต้ ได้แก่ วัดไตรมิตรวิทยาราม เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีน ก็เนื่องด้วยเหตุว่ามีชาวจีน3 คนได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาจึงได้นามว่า “วัดสามจีน”

วัดไตรมิตรวิทยารามเดิมมีพื้นที่ราบลุ่ม มีลักษณะน้ำขังได้ทั่วไป ปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ของวัดทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วทั้งภายในบริเวณวัด และวัดมีเขตอุปจารวัดดังนี้
ทิศเหนือ จรดกับถนนพระราม 4
ทิศใต้ จรดกับถนนตรีมิตร
ทิศตะวันออก จรดกับซอยสุกร 1
ทิศตะวันตก จรดกับถนนเจริญกรุง

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .