Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

วัดสมานรัตนาราม

watsaman1

วัดสมานรัตนาราม ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอบางคล้า และอำเภอคลองเขื่อน ริมแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็น วัดที่มีองค์พระพิฆเนศปางนอนเสวยสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สูง 16 เมตร ยาว 22 เมตร เนื้อชมพู เป็นพระพิฆเนศปางนอนเสวยสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลักษณะกึ่งนั่งนอนตะแคง โดยพระหัตถ์ซ้าย ถืองาที่ หัก พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว โดยรอบฐานมีพระพิฆเนศ 32 ปาง ให้ได้ขอพรสักการะความหมาย ของ พระพิฆเนศ ปางนอนเสวยสุข คือ ความสุขสบาย ความสุขบริบูรณ์มั่งคั่งพร้อมทุกด้าน รื่นรมย์ ไร้ทุกข์ ไร้ความ เศร้าหมอง อิ่มหนำสำราญ มีกิน มีโชคลาภ จะนำความความสุขสบายมาสู่ผู้บูชา ถือเป็นมหามงคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่คู่ ประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทราอีกด้วย

วัดสมานรัตนาราม
บริเวณด้านหน้าพระพิฆเนศ จะมีปูนปั้นรูปหนูอยู่สองตัว ชื่อว่าหนูมุสิกะ ซึ่งเป็นต้นห้องของพระพิฆเนศ ซึ่งจะมี นักท่องเที่ยวต่อแถวยาวยืนกระซิบที่รูปปั้นหนูนั้น เชื่อว่า ถ้าอยากได้สิ่งใด ขอพรสิ่งใดให้สมหวัง ให้ไปกระซิบที่หู หนู แล้วหนูจะนำสิ่งที่เราขอนั้นไปบอกท่านพระพิฆเนศให้ประทานสิ่งที่ต้องการกลับมา และที่สำคัญอย่าลืม ติดสิน บนหนูด้วย โดยการทำบุญใส่ตู้ที่วางไว้ด้านหน้าเขามีเคล็ดลับอีกอย่างในการขอพรคือ เวลาไปกระซิบบอกท่านหนู ให้เราเอามืออีกข้างอ้อมไปปิดรูหูของท่านหนูอีกข้างด้วย ทั้งนี้เพราะป้องกันการฝากขอพรจะไม่เข้าหูซ้าย ทะลุ ออกไปหูขวานั่นเองภายใต้ฐานพระพิฆเนศ เป็นห้องจัดแสดงวัตถุมงคลได้เปิดให้ประชาชนเข้าชม และสำหรับผู้ที่ ต้องการบูชาองค์พระพิฆเนศ Read more »

หลวงพ่อวัดบ้านแหลม

1477

เมื่อ พ.ศ. 2370 สุนทรภู่เดินทางไปเพชรบุรีผ่านทางแม่กลองได้แต่งนิราศเมืองเพชรบุรี ก็ไม่เห็นกล่าวถึงหลวงพ่อบ้านแหลม แต่กลับกล่าวถึงหลวงพ่อวัดเขาตะเคราว่า “เขานับถือลืออยู่แต่บูราณ ใครบนบานพระรับช่วยดับร้อน” แสดงว่าในรัชกาลที่ 3 หลวงพ่อบ้านแหลมยังเป็นที่รู้จักเลื่องลือนัก สุนทรภู่จึงไม่รู้จัก ไปรู้จักหลวงพ่อวัดเขาตะเครา ซึ่งอยู่ไกลกว่า

เมื่อ พ.ศ. 2411 พระมหามนตรี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) ไปประจวบฯคราวตามเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ ได้แต่งนิราศเกาะจานไว้ผ่านมาทางแม่กลองก็ไม่กล่าวถึงหลวงพ่อบ้านแหลม แต่กล่าวถึงหลวงพ่อวัดเขาตะเครา แสดงว่าจนรัชกาลที่ 4 หลวงพ่อบ้านแหลมก็ยังไม่โด่งดัง

เมื่อ พ.ศ. 2461 เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่าง ๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ผู้คนล้มตายกันมาก กล่าวกันว่าบ้านเมืองเงียบเหงาจนคนไม่อยากออกจากบ้าน และไมมีใครเผาศพใครด้วยยังเข้าใจกันว่าเป็นโรคฝีโรคห่า

ครั้งนั้นท่านเจ้าคุณสนิท สมณคุณ (เนตร) เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลม ฝันไปว่า หลวงพ่อบ้านแหลมมาเข้าฝันบอกคาถากันโรคห่าให้บทหนึ่งให้ไปดูที่พระหัตถ์ของหลวงพ่อบ้านแหลมในโบสถ์ ท่านเจ้าคุณจึงชวนขุนประชานิยม (อ่อง ประชานิยม) ซึ่งขณะนั้นเป็นเด็กวัดอยู่เข้าไปดูคาถาหลวงพ่อบ้านแหลมในโบสถ์กลางดึกปรากฏมีคาถาว่า “นะ มะ ระ อะ” อยู่ที่พระหัตถ์ขวา “นะ เท วะ อะ” อยู่ที่พระหัตถ์ข้างซ้าย จึงจดเอามาทำน้ำมนต์ให้ชาวบ้านเอไปกินไปอาบปรากฏว่าไข้อหิวาตกโรคก็สงบตั้งแต่บัดนั้นมา ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อบ้านแหลมจึงเกิดเลื่องลือขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2461 เป็นต้นมา

ขอขขอบคุณ http://www.amulet.in.th

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือวัดบ้านแหลม จ. สมุทรสงคราม

1476

วัดศรีจำปา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ด้านทิศตะวันออก จำเนียรกาลต่อมาก็รกร้างโรยไปเหมือนกัน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมือเพชรบุรี กองทัพกรุงศรีอยุธยามีพระยาพิพัฒน์โกษากับพระยาตากสิน (พระเจ้าตากสินมหาราช) ยกทัพไปช่วยรักษาเมืองไว้ พม่าจึงยกทัพกลับไป แต่ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีได้อพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลแม่กลอง เหนือวัดศรจำปา ริมคลองมากลอง จึงเรียกยกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชร ได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดศรีจำปาให้เป็นปึกแผ่นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วเรียกวัดศรีจำปานี้ว่า “วัดบ้านแหลม”

ชาวบ้านแหลมพวกนี้เป็นชาวประมง มีอาชีพออกตีอวนจับปลาในทะเล คราวหนึ่งได้ออกไปตีอวนในอ่าวแม่กลอง ได้พระพุทธรูปติดอวนขึ้นมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง ได้ให้ญาติของตนในเขตอำเภอบ้านแหลมไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา เรียกว่า “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวเพชรบุรีสืบมาจนทุกวันนี้

ส่งอีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรขนาดเท่าคนจริง สูงประมาณ 167 เซนติเมคร แต่บาตรนั้นสูญหายไปในทะเล เมื่อได้ขึ้นมาแล้วก็เอามาประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลมเรียกว่า “หลวงพ่อวัดบ้านแหลม” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของชาวสมุทรสงครามทั่วไป Read more »

หลวงพ่อวัดบ้านแหลม สมัยกรุงศรีอยุธยา

1475

สมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชพงศาวดาร กล่าวไว้ว่าเมื่อ พ.ศ. 2206 นั้น “โปรดให้สถาปนาพระพุทธปฏิมากรห้ามสมุทรองค์หนึ่ง หุ้มทอง และทรงอาภรณ์ประดับด้วยแหวนอันมีค่าทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์สูง 4 ศอกคืบเศษทั้งฐาน” เป็นที่น่าสังเกตว่าขนาดสูง 4 ศอกคืบนี้ คือขนาด 165 – 170 เซนติเมตร คือขนาดเท่าคนธรรมดานั่นเอง ฉะนั้นขอสันนิษฐานว่าหลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงเป็นไปได้ เข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาไว้โดยมากเกือบทุกพระองค์ บางองค์ก็อาจจะสร้างไว้มากกว่าหนึ่งองค์ ที่มีเหลืออยู่น้อยองค์นั้นเข้าใจว่าจะถูกพม่าขนเอาไปบ้านเมืองเสียมาก และคงจะจมดินจมน้ำอยู่อีกไม่น้อย ถูกฝั่งซ่อนในถ้ำในเจดีย์ก็คงมีอีกมาก แต่เราไม่ทราบประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปเหล่านั้น

หลวงพ่อวัดบ้านแหลมนี้จึงน่าเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาองค์ใดองค์หนึ่งเป็นแน่ จะเป็นด้วยคนไทยขนบรรทุกเรือหนีพม่าหรือว่าพม่าขนบรรทุกเรือจะเอาไปเมืองพม่า อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่แล้วมีเหตุอันเป็นไปนำท่านต่อไปไม่ได้ ท่านจึงจมอยู่ในทะเลชั่วระยะเวลาหนึ่งไม่นานนักเพราะถ้านานปีคงถูกน้ำเค็มในทะเลกัดกร่อนมีสนิมมาก ท่านปาฏิหาริย์ดำน้ำอยู่พักหนึ่งจนชาวบ้านแหลมไปตีอวนแทนที่จะได้ปลาฉลามตัวใหญ่ดังที่คาด กลับได้องค์หลวงพ่อขึ้นมาพร้อม ๆ กับหลวงพ่อเขาตะเครา องค์หนึ่งเป็นพระยืนอุ้มบาตร แต่บาตรคงจะจมหายอยู่ในทะเลหรือพม่าจะเอาไปเมืองพม่าเสียก็ไม่ทราบ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2307 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ขอขอบคุณ http://www.amulet.in.th/

พระพุทธลักษณะหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหาร สมุทรสงคราม

1474

องค์หลวงพ่อบ้านแหลมนั้น เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปางอุ้มบาตร ขนาดสูงแต่ปลายนิ้วพระบาทถึงยอดพระเกตุมาลา 167 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปสมัยกรุงศรีอยุธยาลักษณะเด่นเป็นพิเศษ คือ พระพักตร์งามเหมือนพระพักตร์เทพบุตร มีคนกล่าวว่าหลวงพ่อเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีพระพักตร์เป็นเทวดานี้เอง เทวดาจึงมาสิงสถิตรักษาองค์หลวงพ่ออยู่ให้เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ พระหัตถ์เป็นคนละชิ้นกับพาหาทำให้สามารถถอดออกได้ เป็นแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเช่นพระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตรก็ถอดออกได้เป็นท่อน ๆ เป็นต้น พระบาทไม่สวมฉลองพระบาทแบบพระพุทธรูปทรงเครื่องที่เรียกว่าพระโพธิสัตว์สมัยอยุธยา พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิงแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สังฆาฏิพาดยาวลงมาถึงพระชงฆ์ แต่ไม่มีลายเป็นดอกดวงเป็นแบบพระพุทธรูปสมัยอยุธยา จีวรทำแผ่นเป็นแผ่นแผงอยู่เบื้องหลัง มีแฉกมุมแบบอยุธยา จีวรทำแผ่นเป็นแผ่นแผงอยู่ เป็นเบื้องหลัง มีแฉกมุมแบบอยุธยา ฐานรองพระบาทนั้นตอนบนทำเป็นรุปดอกบัวบานรองรับ ตอนล่างทำเป็นฐานหักมุม 12 มุม เป็นรูปฐานพระเจดีย์ ชั้นล่างสุดทำเป็นฐานเท้าสิงห์มีลวดลายสวยงามมากรูปที่ถ่ายไว้เป็นรูปทรงเครื่องเต็มยศ กล่าวคือสวมสายสะพานพาดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมาจุลจอมเกล้าวิเศษ คาดรัดประคดปักดิ้นเงิน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานถวายเป็นพุทธบูชา บาตรแก้วสีน้ำเงิน ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประทานถวายหลวงพ่อไว้ในรัชกาลที่ 5 เวลานี้ทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัดประคด และบาตรแก้ว ทางวัดเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ พระพุทธรูปหลวงพ่อบ้านแหลมนี้ทางกรมศิลปากรได้จดทะเบียนไว้เป็นโบราณวัตถุแห่งชาติแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 Read more »

หลวงพ่อบ้านแหลม พระคู่บ้านคู่เมืองสมุทรสงคราม

baanlam3

หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เสมือนหนึ่งเป็นแก้วมณีอันมีค่าคู่เมืองสมุทรสงคราม ชาวสมุทรสงครามเคารพสักการะพระพุทธรูปองค์นี้กันมาหลายชั่วคน หลวงพ่อบ้านแหลม จึงเป็นเสมือนเจ้าพ่อหลักเมือง หรือเทวดาประจำเมืองสมุทรสงครามก็ว่าได้ และถ้าจะว่าไปแล้ว หลวงพ่อบ้านแหลม ก็มีประวัติ ความเป็นมาคู่กับเมืองสมุทรสงครามเลยทีเดียว ใครไปเมืองสมุทรสงครามไม่ได้ไปนมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม ก็เหมือนหนึ่งไม่ได้ไปเมืองสมุทรสงคราม ใครพูดถึงเมืองสมุทรสงคราม ไม่กล่าวถึงนามหลวงพ่อบ้านแหลม ก็เหมือนไม่รู้จักเมืองสมุทรสงคราม ข้าราชการผู้ใดย้ายไปเมืองสมุทรสงคราม ถ้าไม่ได้ไปนมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม ก็เหมือนหนึ่งเข้าไปอาศัยวัด แต่ไม่ได้ไปนมัสการท่านสมภารเจ้าวัด ลูกสมุทรสงครามคนใดไม่เคยเห็นหน้าหลวงพ่อบ้านแหลมก็เปรียบเหมือนลูกกำพร้าเกิดมาไม่เคยเห็นหน้าพ่อ ความสำคัญของหลวงพ่อบ้านแหลม ถ้าจะเปรียบความก็คงจะเปรียบได้เช่นนี้
ตามตำนานปากเปล่า คือคำบอกเล่ากันสืบๆ มานั้นกล่าวว่าหลวงพ่อบ้านแหลมลอยน้ำมา บ้างว่าสององค์พี่น้อง คือหลวงพ่อบ้านแหลมกับหลวงพ่อเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี บ้างว่าสามองค์พี่น้อง คือหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทราด้วย บ้างว่ามีสี่พี่น้อง คือหลวงพ่อวัดไร่ขิงจังหวัดนครปฐมอีกองค์หนึ่ง บ้างก็ว่ามีห้าพี่น้อง คือ หลวงพ่อบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ด้วย แต่ก็สรุปได้ว่า หลวงพ่อบ้านแหลมลอยน้ำมา 5 องค์พี่น้ององค์แรกขึ้นประดิษฐานที่วัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา องค์ที่สองขึ้นสถิตที่วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม องค์ที่สามขึ้นสถิตที่วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ องค์ที่สี่ขึ้นสถิตที่วัดบ้านแหลม (วัดเพชรสมุทรวรวิหารในปัจจุบัน) จังหวัดสมุทรสงคราม องค์ที่ห้าขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี พระพุทธรูปทั้ง 5 องค์นี้ ล้วนแต่เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีอภินิหารเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองนั้นๆ และมี ชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักของประชาชนจังหวัดอื่นทั่วไปด้วย Read more »

วัดบ้านแหลม (วัดเพชรสมุทรวรวิหาร) แม่กลอง สมุทรสงคราม

Travel_20110813165143

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดบ้านแหลม) สมุทรสงคราม เป็นวัดสำคัญที่สุดในจังหวัด เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ เรียกกันว่า “หลวงพ่อบ้านแหลม” เป็นที่เลื่องลือรู้จักกันทั่วไปในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสมุทรสงคราม บรรดาพุทธศาสนิกชนพากันมานมัสการตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนทุกวันนี้

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (Wat Phet Samut) ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อวัดบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์ หนึ่งของไทย ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ศูนย์รวมศรัทธาและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวแม่กลองแห่ง สมุทรสงครามเท่านั้น แต่ยังเป็นที่เคารพสักการะอย่างกว้างขวางของชาวไทยทุกสารทิศมานานนับสมัยจน ถึงกับมีคำกล่าวว่า หากไม่ได้มานมัสการหลวงพ่อวัดบ้านแหลมก็เสมือนมาไม่ถึงเมืองสมุทรสงคราม เชื่อกันว่าหากได้มาสักการะปิดทองหลวงพ่อบ้านแหลม แล้วจะช่วยเสริมอำนาจบารมีแก่ชีวิต บังเกิดแต่ความเป็นสิริมงคลสืบไป หากใครอธิษฐานของพรหลวงพ่อไว้ในเรื่องใดก็มักจะได้สมความปรารถนาและมักจะ กลับมาแก้บนหลวงพ่อด้วยละครรำ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ท่านโปรดปราน

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ตั้งอยู่ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ติดกับตลาดแม่กลอง วัดนี้เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อว่า “วัดศรีจำปา มีอายุไม่น้อยกว่า 500 ปี เหตุที่เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดบ้านแหลม” ก็เนื่องมาจากชาวบ้านแหลมหนีภัยพม่ามาจากเพชรบุรี อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ปากคลองแม่กลองฝั่งใต้ใกล้กับวัดศรีจำปา เรียกหมู่บ้านนี้ว่า “พวกบ้านแหลม” ต่อมาจะกลายเป็น หมู่บ้านแหลม และช่วยกันบูรณีวัดศรีจำปาที่ร่วงโรยทรุดโทรมให้ดีขึ้น จึงเรียกวัดศรีจำปาเสียใหม่ว่า “วัดบ้านแหลม” Read more »

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
หรือวัดบ้านแหลมเป็นวัดที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อบ้านแหลม” พระพุทธรูปยืน ปางอุ้มปาตร ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพของชาวบ้านทั่วไป ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์สงฆ์

สถานที่ตั้งตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เดิมชื่อ “วัดศรีจำปา” สร้างขึ้นในราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ตามตำนานเล่าว่า ในปี พ.ศ.2307 ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณตำบลแม่กลองเหนือวัดศรีจำปา และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อหมู่บ้านเดิมของตน ชาวบ้านแหลมได้ช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปาและเรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดบ้านแหลม” ต่อมาวัดบ้านแหลมได้ยกฐานะขึ้นเป็นอารามหลวงชั้นวรวิหาร ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร”
สิ่งที่น่าสนใจ Read more »

พระประธานในพระอุโบสถ วัดเพชรสมุทร วรวิหาร หรือวัดบ้านแหลม ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

268_1216272533.jpg_675

“หลวงพ่อวัดบ้านแหลม” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “หลวงพ่อบ้านแหลม” แห่งแม่น้ำแม่กลอง ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดเพชรสมุทร วรวิหาร (วัดบ้านแหลม) ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ตามตำนานหลวงพ่อลอยน้ำ ๕ พี่น้อง พระพุทธรูป ๕ องค์ที่ลอยน้ำมาด้วยกันจากทางเหนือนั้น มีเพียงองค์เดียวที่เป็นพระพุทธรูปยืน คือ องค์ที่ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลองแล้วขึ้นสถิตอยู่ ณ วัดเพชรสมุทร วรวิหาร (วัดบ้านแหลม) ก็คือ หลวงพ่อบ้านแหลม นั่นเอง

ประวัติความเป็นมา

สำหรับตำนานเล่าขานหลวงพ่อบ้านแหลมนั้น มีตำนานอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า ชาวบ้านแหลมซึ่งอยู่ปากอ่าวจังหวัดเพชรบุรี ได้พากันมาจับปลาในทะเล ขณะที่ลากอวนอยู่นั้นได้ลาก พระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ติดอวนขึ้นมาองค์หนึ่ง ทุกคนต่างดีใจมาก จึงอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นบนเรือ แล้วพากันล่องกลับเข้าฝั่ง แต่ระหว่างทางคนในเรือได้แลเห็นพระเกศของพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งลอยปริ่มๆ น้ำอยู่ไม่ไกลนัก จึงร้องบอกให้ทุกคนทราบ แล้วเทียบเรือเข้าไป จึงได้พบ พระพุทธรูปยืน ทุกคนต่างอัศจรรย์ใจเป็นที่สุดที่พระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลืองแต่ลอยอยู่ในน้ำได้ จึงพากันกราบนมัสการด้วยความเลื่อมใสในอภินิหารและอิทธิฤทธิ์ที่ได้พบเห็น แล้วอาราธนาขึ้นบนเรืออีกลำหนึ่ง Read more »

ประวัติหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม

watbanlaem

หลวงพ่อบ้านแหลม หรือ หลวงพ่อวัดบ้านแหลมเป็น พระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร สูงประมาณ 2 เมตร 80 เซนติเมตร หล่อด้วยทองเหลืองปิดทอง “หลวงพ่อบ้านแหลม” ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือที่เรียกว่าวัดบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวเมืองแม่กลอง หรือจังหวัดสมุทรสงคราม สำหรับ”หลวงพ่อวัดบ้านแหลม” ซี่งเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ผสมด้วยทอง เงิน นาก พระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตรสูงเท่าคนจริง บริเวณฐานพระบาท มีดอกบัวรองรับพระบาทอยู่บนแท่นฐานแข้งสิงห์ ซึ่งก่อสูงขึ้นประมาณ 45 เซนติเมตร ส่วนองค์พระสูง 167 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรึอยุธยา ที่มีลักษณะเด่นก็คือ

พระพุทธรูปปางองค์นี้ มีพระพักตร์งดงามคล้ายพระพักตร์ของเทพบุตร โดยมีคนเคยกล่าวไว้ว่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้(หลวงพ่อวัดบ้านแหลม) มีรูปพระพักตร์เป็นเทวดา และถือว่ามีเทพ หรือเทวดาเข้ามาสิงสถิตรักษา อยู่ในองค์หลวงพ่อวัดบ้านแหลมอย่างแน่นอน หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ตามตำนานเล่ากันว่า มีความสัมพันธ์กับ ตำนานพระพุทธรูปโสธร แต่มีเพิ่มเติมจำนวนพระพุทธรูปจาก 3 องค์ เป็น 5 องค์ กล่าวคือ มีเรื่องเล่ากันมาว่า มีพระพุทธรูป 5 องค์ ลอยน้ำมาจากเมืองเหนือ เมื่อมาถึงภาคกลางก็ได้แยกย้านกันไป ประดิษฐานอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ รวม 5 จังหวัด Read more »

วัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร

วัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร อำเภอเมือง จ.สมุทรสงคราม ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเมือง บริเวณถนนเพชรสมุทร เดิมชื่อ วัดศรีจำปา เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัด ตามพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา ปี พ.ศ. 2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเพชรบุรี แต่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาช่วยรักษาเมืองไว้ได้ ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณตำบลแม่กลองเหนือวัดศรีจำปา จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชรและช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปา เรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดบ้านแหลม”

ชาวบ้านแหลมนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นชาวประมง คราวหนึ่งได้ออกไปลากอวนในอ่าวแม่กลองพบพระพุทธรูปติดอวนขึ้นมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน สำหรับพระพุทธรูปนั่งได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี สำหรับพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรสูงประมาณ 167 เซนติเมตร (แต่บาตรนั้นสูญหายไปในทะเล สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธ์วงศ์วรเดชได้ถวายบาตรไว้ให้บาตรหนึ่งเป็นบาตรแก้วสีน้ำเงิน) นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม เรียกว่า “หลวงพ่อบ้านแหลม” มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านทั่วไป

วัดบ้านแหลมเจริญขึ้นเป็นวัดใหญ่ เนื่องจากมีผู้คนมาทำบุญนมัสการหลวงพ่อบ้านแหลมกันเรื่อยมา ต่อมาวัดนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีวรวิหาร ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร” ภายในบริเวณวัดเพชรสมุทรยังมีพิพิธภัณฑ์สงฆ์ จัดแสดงพระพุทธรูป และพระเครื่องสมัยต่างๆ โบราณวัตถุเครื่องลายคราม และธรรมมาสน์บุษบกสมัยกรุงศรีอยุธยา ปกติไม่เปิดให้เข้าชม ต้องติดต่อเจ้าอาวาสก่อนล่วงหน้า

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร สักการะหลวงพ่อวัดบ้านแหลมศักดิ์สิทธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

wpsk3

เดิมชื่อว่า “วัดศรีจำปา”สร้างขึ้นในราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ตามตำนานเล่าว่า ในปีพ.ศ.๒๓๐๗ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณตำบลแม่กลองเหนือวัดศรีจำปาและเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อหมู่บ้านเดิมของตนชาวบ้านแหลมได้ช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปาและเรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดบ้านแหลม”ต่อมาวัดบ้านแหลมได้ยกฐานะขึ้นเป็นอารามหลวงชั้นวรวิหาร ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร”

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อบ้านแหลม
หลวงพ่อวัดบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรหล่อด้วยทองเหลืองแบบสมัย สุโขทัยตอนปลาย ภายในโปร่งขนาดส่วนสูง ๑๗๐ เซนติเมตรประดิษฐานยืนอยู่บนแท่น ภายในพระอุโบสถวัดบ้านแหลม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงครามตามประวัติที่จารึกกล่าวไว้ว่า หลวงพ่อได้ล่องลอยน้ำลงมาจากทางเหนือพร้อมกัน ๓องค์แสดงอภินิหารให้ผู้คนเห็นมาตลอดลำแม่น้ำเจ้าพระยา และ ครั้งหนึ่งได้ล่องลอยมาถึงบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนสามเสนประชาชนสามแสนกว่าคนประสงค์ที่จะนิมนต์หลวงพ่อขึ้นบนฝั่งช่วยกันเอาเชือกผูกมัดองค์หลวงพ่อแล้วช่วยกันฉุดลากแต่ก็ไม่สามารถจะนำหลวงพ่อขึ้นฝั่งได้และท่านก็จมน้ำหายไปจากที่นั้น ต่อจากนั้นท่านก็ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ผุดให้คนเห็นในที่ต่าง ๆกันเรื่อยมาจนในที่สุดก็ได้มาประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญอยู่ในพระอุโบสถวัดบ้านแหลมนี้จนถึงปัจจุบัน
Read more »

งานนมัสการหลวงพ่อวัดบ้านแหลม

wpsk4

วัดบ้านแหลมนี้มีงานนมัสการหรืองานเทศกาล ๒ ครั้ง คือ
๑. งานสงกรานต์เดือน ๕ มีงานรวม ๖ วัน ๖ คืน เริ่มงานตั้งแต่วันที่ ๑๓ – ๑๘เมษายนของทุกปี
๒. งานวันสารท เดือน ๑๑มีงานนมัสการหลวงพ่อ ๔ วัน ๔ คืนมีประชาชนทั้งใกล้และไกลไปนมัสการหลวงพ่อกันอย่างคับคั่ง

พระพุทธปฏิมาอันสำคัญที่ทรงอภินิหารและทรงศักดิ์สิทธิ์นั้นถ้าจะกล่าวกันไปแล้วก็ยังมีอีกเป็นจำนวนหลายวัดตามจังหวัดและอำเภอต่าง ๆทั่วประเทศทั้งในเมืองและตามชนบทถ้าจะทบทวนนับจาก หลวงพ่อโต จังหวัดสมุทรปราการหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงครามแล้วก็เห็นจะมีพระพุทธปฏิมากรที่สำคัญอีก ๒องค์ นั้นคือ หลวงพ่อวัดเขาตะเคราจังหวัดเพชรบุรี หลวงพ่อวัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม ซึ่งนับว่าเป็นหลวงพ่อที่ทรงอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ดุจเดียวกันเพราะมีพุทธศาสนิกชนประชาชนพากันมาสักการบูชากันมากมายเนืองแน่นไปหมดเมื่อเวลามีงานสมโภชตามเทศกาล และตามจดหมายเหตุประวัติความเป็นมาอันเก่าแก่ดั้งเดิมของทางวัด ก็ได้แจ้งไว้ว่าท่านได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมาเช่นเดียวกันถึงกับบางท่านได้สรุปรวมความว่าเป็นพระพี่น้องกันซึ่งก็สามารถจัดเป็นเช่นนั้นได้เพราะท่านมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มีความศักดิ์สิทธิ์สามารถปกป้องคุ้มครองรักษาประชาชนที่เคารพนับถือสักการบูชาท่านรักษาโรคภัยไข้เจ็บภัยพิบัติต่างๆ ให้หายได้อย่างน่าอัศจรรย์ ถ้าหากจะนับรวมกันอย่างที่ทราบกันมาว่าพระพุทธรูปที่มีปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา ก็คงจะมี ๕องค์ดังนี้ ซึ่งตรงกับคำว่า “ พุทธปัญจะภาคี ปาฏิหาริย์กระสินธุ์โน” พอดี Read more »

วัดบ้านแหลม

phetsamut_temple

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 – 16.30

ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง บริเวณถนนเพชรสมุทร เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดเดิมชื่อ วัดศรีจำปา ตามพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา ปี พ.ศ. 2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเพชรบุรี แต่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาช่วยรักษาเมืองไว้ได้ ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณตำบลแม่กลองเหนือวัดศรีจำปา จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชรและช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปา เรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดบ้านแหลม”
ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อวัดบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของไทย ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ศูนย์รวมศรัทธาและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวแม่กลองแห่งสมุทรสงครามเท่านั้น แต่ยังเป็นที่เคารพสักการะอย่างกว้างขวางของชาวไทยทุกสารทิศมานานนับสมัยจนถึงกับมีคำกล่าวว่า หากไม่ได้มานมัสการหลวงพ่อวัดบ้านแหลมก็เสมือนมาไม่ถึงเมืองสมุทรสงคราม Read more »

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

banlame1

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เดิมชื่อ “วัดศรีจำปา” สร้างขึ้นในราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยาตาม ตำนานเล่าว่า ในปี พ.ศ.2307ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือน อยู่บริเวณตำบล แม่กลองเหนือวัดศรีจำปา และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อห มู่บ้านเดิมของตนชาวบ้านแหลมได้ช่วย กันบูรณะวัดศรีจำปาและเรียกวัดนี้ใหม่ว่า วัดบ้านแหลม” ต่อมาวัดบ้านแหลมได้ยกฐานะขึ้นเป็นอาราม หลวง ชั้นวรวิหาร ได้รับ พระราชทานนามว่า วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

สิ่งที่น่าสนใจในวัดบางกุ้ง
1.หลวงพ่อบ้านแหลม
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพเลื่อมใสของคนทั่วไป เป็น พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรขนาดเท่าคนจริง สูงประมาณ 167 เซนติเมตร ตามตำนานเล่าว่า ชาวประมงบ้านแหลมออก ไปลากอวนในอ่าวแม่กลอง ได้พระพุทธรูปติดมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่งอีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูป ยืน พระพุทธรูปนั่งได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี ส่วนพระพุทธรูปยืนนำมา ประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม เรียกกันว่า หลวงพ่อบ้านแหลม ตอนที่ชาวประมงพบในอ่าวแม่กลองบาตรนั้น สูญหายไปในทะเล สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ที่ ได้เคยเสด็จมานมัสการ ได้ถวายบาตร แก้วสีน้ำเงินถวายหลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพุทธบูชา และยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธาหลวงพ่อบ้านแหลม จึงพระราชทานผ้าดิ้นทองแก่หลวงพ่อ จำนวนสองผืนแต่ละผืนมี ขนาด หน้า กว้าง 6 นิ้ว ยาวประมาณ 10 ฟุต ปัจจุบันทางวัดได้จัดแสดงไว้ในพระอุโบสถที่ ประดิษฐานหลวงพ่อ บ้านแหลม ในวันสำคัญ เช่น วัดสงกรานต์ วันทอดกฐินพระราชทาน จะนำผ้าดิ้นทองพระราชทาน หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นที่เคารพบูชาในหมู่พุทธศานิกชนโดยทั่วไป ในแต่ละวันจะมีผู้ศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศ Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .